นักชีววิทยา จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลก บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวดล้อม ป่าที่สมบูรณ์และไร้สารเคมีปนเปื้อน อาจารย์ ดร. ปรวีร์ พรหมโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยคณะทำงานได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเชฏฐ์ คนซื่อ และ อาจารย์ ดร. ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ อาจารย์จากภาควิชาเดียวกัน และได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทั้งจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ผู้สนับสนุนจากประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้การสนับสนุนการสำรวจโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน คณะวิจัยสนใจการค้นพบกะท่างน้ำ บริเวณดอยภูคา ที่มีเรื่องเล่าการพบเห็นในนิตยสารบางฉบับมามากกว่า 20 ปีแล้ว คณะนักวิจัยจึงสนใจที่ค้นคว้าเพิ่มเติมว่า กะท่างที่พบนั้นยังมีอยู่หรือไม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการลงพื้นที่ โดยขออนุญาตและได้รับความอนุเคราะห์จาก นายฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และมี นายพศิน อิ่นแก้ว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานท่านอื่นๆ เป็นผู้นำเส้นทาง จากลักษณะทางกายภาพของ กะท่างน้ำดอยภูคา ที่มีสีน้ำตาลแถบส้ม รวมทั้งการตรวจแถบรหัสพันธุกรรม(DNA banding) ทำให้คณะนักวิจัยทราบได้ว่า สัตว์ตัวนี้ถือเป็นกะท่างน้ำสายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่สำคัญยังได้รับรู้ถึงความสมบูรณ์ของพื้นป่าบริเวณนี้อีกด้วย เพราะกะท่างน้ำดอยภูคา เป็นสัตว์ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวดล้อมของผืนป่าในบริเวณที่พบได้เป็นอย่างดี จากธรรมชาติของ ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของกะท่าง จะอยู่อาศัยได้ในบริเวณผืนป่าสมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกทำลาย รวมถึงพื้นที่นั้น ๆ ต้องไม่มีสารเคมีปนเปื้อน 100% เท่านั้น คณะนักวิจัยและคณะผู้นำทาง ต้องปีนขึ้นบนยอดดอย ที่สูงชัน ผ่านป่าดิบที่สมบูรณ์ เพื่อค้นหาแอ่งน้ำ ที่เป็นแหล่งอาศัยของกะท่าง จนไปถึงแอ่งน้ำบนดอยหญ้าหวาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,795 เมตร โดยธรรมชาติของกะท่างนั้นจะอาศัยในแอ่งน้ำบริเวณหุบบนยอดเขามีขนาดประมาณ 200 ตารางเมตร และเป็นน้ำที่ปกคลุมด้วยหญ้าที่มีความสูงไม่มากนัก มีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่กลางแอ่งน้ำและนอกจากนั้นยังมีขอนไม้ล้มที่มีโพรงจมอยู่กับพื้นของแอ่งน้ำที่มีความลึกไม่มากนัก หรือประมาณครึ่งหน้าแข้ง “บริเวณดังกล่าว ค้นพบกะท่างน้ำดอยภูคา ปีนอยู่ตามกอหญ้า ขอนไม้และก้อนหินกลางแอ่งน้ำ มากกว่า 50 ตัว และส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ เมื่อสำรวจทั้งแอ่งน้ำและริมตลิ่ง พบว่ากะท่างน้ำดอยภูคากำลังมุ่งหน้าเข้าผืนป่า คาดเดาว่าเป็นช่วงปลายของฤดูผสมพันธุ์ ธรรมชาติของกะท่างน้ำ เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะวางไข่หลัง และทิ้งไข่ปล่อยให้ปรับตัวไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวพ่อและแม่นั้นจะมุ่งหน้ากลับผืนป่า เพราะโดยธรรมชาติของ กะท่างจะใช้ชีวิตอยู่บนบกยกเว้นช่วงเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น ทั้งนี้การค้นพบดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียบร้อย” ดร. ปรวีร์ กล่าว อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม >>> https://bit.ly/3gpxpzR Photo Credit by : bangkokbiznews Article Credit by : bangkokbiznews ค้นพบในไทย “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลกbit.lyนักชีววิทยา จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลก บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวด….

นักชีววิทยา จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลก บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวดล้อม ป่าที่สมบูรณ์และไร้สารเคมีปนเปื้อน อาจารย์ ดร. ปรวีร์ พรหมโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยคณะทำงานได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเชฏฐ์ คนซื่อ และ อาจารย์ ดร. ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ อาจารย์จากภาควิชาเดียวกัน และได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทั้งจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ผู้สนับสนุนจากประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้การสนับสนุนการสำรวจโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน คณะวิจัยสนใจการค้นพบกะท่างน้ำ บริเวณดอยภูคา ที่มีเรื่องเล่าการพบเห็นในนิตยสารบางฉบับมามากกว่า 20 ปีแล้ว คณะนักวิจัยจึงสนใจที่ค้นคว้าเพิ่มเติมว่า กะท่างที่พบนั้นยังมีอยู่หรือไม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการลงพื้นที่ โดยขออนุญาตและได้รับความอนุเคราะห์จาก นายฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และมี นายพศิน อิ่นแก้ว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานท่านอื่นๆ เป็นผู้นำเส้นทาง จากลักษณะทางกายภาพของ กะท่างน้ำดอยภูคา ที่มีสีน้ำตาลแถบส้ม รวมทั้งการตรวจแถบรหัสพันธุกรรม(DNA banding) ทำให้คณะนักวิจัยทราบได้ว่า สัตว์ตัวนี้ถือเป็นกะท่างน้ำสายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่สำคัญยังได้รับรู้ถึงความสมบูรณ์ของพื้นป่าบริเวณนี้อีกด้วย เพราะกะท่างน้ำดอยภูคา เป็นสัตว์ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวดล้อมของผืนป่าในบริเวณที่พบได้เป็นอย่างดี จากธรรมชาติของ ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของกะท่าง จะอยู่อาศัยได้ในบริเวณผืนป่าสมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกทำลาย รวมถึงพื้นที่นั้น ๆ ต้องไม่มีสารเคมีปนเปื้อน 100% เท่านั้น คณะนักวิจัยและคณะผู้นำทาง ต้องปีนขึ้นบนยอดดอย ที่สูงชัน ผ่านป่าดิบที่สมบูรณ์ เพื่อค้นหาแอ่งน้ำ ที่เป็นแหล่งอาศัยของกะท่าง จนไปถึงแอ่งน้ำบนดอยหญ้าหวาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,795 เมตร โดยธรรมชาติของกะท่างนั้นจะอาศัยในแอ่งน้ำบริเวณหุบบนยอดเขามีขนาดประมาณ 200 ตารางเมตร และเป็นน้ำที่ปกคลุมด้วยหญ้าที่มีความสูงไม่มากนัก มีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่กลางแอ่งน้ำและนอกจากนั้นยังมีขอนไม้ล้มที่มีโพรงจมอยู่กับพื้นของแอ่งน้ำที่มีความลึกไม่มากนัก หรือประมาณครึ่งหน้าแข้ง “บริเวณดังกล่าว ค้นพบกะท่างน้ำดอยภูคา ปีนอยู่ตามกอหญ้า ขอนไม้และก้อนหินกลางแอ่งน้ำ มากกว่า 50 ตัว และส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ เมื่อสำรวจทั้งแอ่งน้ำและริมตลิ่ง พบว่ากะท่างน้ำดอยภูคากำลังมุ่งหน้าเข้าผืนป่า คาดเดาว่าเป็นช่วงปลายของฤดูผสมพันธุ์ ธรรมชาติของกะท่างน้ำ เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะวางไข่หลัง และทิ้งไข่ปล่อยให้ปรับตัวไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวพ่อและแม่นั้นจะมุ่งหน้ากลับผืนป่า เพราะโดยธรรมชาติของ กะท่างจะใช้ชีวิตอยู่บนบกยกเว้นช่วงเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น ทั้งนี้การค้นพบดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียบร้อย” ดร. ปรวีร์ กล่าว อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม >>> https://bit.ly/3gpxpzR Photo Credit by : bangkokbiznews Article Credit by : bangkokbiznews ค้นพบในไทย “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลกbit.lyนักชีววิทยา จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลก บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวด….

แชร์ให้เพื่อน!

นักชีววิทยา จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลก บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวดล้อม ป่าที่สมบูรณ์และไร้สารเคมีปนเปื้อน

อาจารย์ ดร. ปรวีร์ พรหมโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนพร้อมด้วยคณะทำงานได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิเชฏฐ์ คนซื่อ และ อาจารย์ ดร. ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ อาจารย์จากภาควิชาเดียวกัน และได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทั้งจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ผู้สนับสนุนจากประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยพะเยา ภายใต้การสนับสนุนการสำรวจโดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน คณะวิจัยสนใจการค้นพบกะท่างน้ำ บริเวณดอยภูคา ที่มีเรื่องเล่าการพบเห็นในนิตยสารบางฉบับมามากกว่า 20 ปีแล้ว คณะนักวิจัยจึงสนใจที่ค้นคว้าเพิ่มเติมว่า กะท่างที่พบนั้นยังมีอยู่หรือไม่ เป็นจุดเริ่มต้นของการลงพื้นที่ โดยขออนุญาตและได้รับความอนุเคราะห์จาก นายฉัตรชัย โยธาวุธ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยภูคา และมี นายพศิน อิ่นแก้ว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานท่านอื่นๆ เป็นผู้นำเส้นทาง

จากลักษณะทางกายภาพของ กะท่างน้ำดอยภูคา ที่มีสีน้ำตาลแถบส้ม รวมทั้งการตรวจแถบรหัสพันธุกรรม(DNA banding) ทำให้คณะนักวิจัยทราบได้ว่า สัตว์ตัวนี้ถือเป็นกะท่างน้ำสายพันธุ์ใหม่ของโลก ที่สำคัญยังได้รับรู้ถึงความสมบูรณ์ของพื้นป่าบริเวณนี้อีกด้วย เพราะกะท่างน้ำดอยภูคา เป็นสัตว์ที่สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวดล้อมของผืนป่าในบริเวณที่พบได้เป็นอย่างดี จากธรรมชาติของ ไข่ ตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของกะท่าง จะอยู่อาศัยได้ในบริเวณผืนป่าสมบูรณ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ถูกทำลาย รวมถึงพื้นที่นั้น ๆ ต้องไม่มีสารเคมีปนเปื้อน 100% เท่านั้น

คณะนักวิจัยและคณะผู้นำทาง ต้องปีนขึ้นบนยอดดอย ที่สูงชัน ผ่านป่าดิบที่สมบูรณ์ เพื่อค้นหาแอ่งน้ำ ที่เป็นแหล่งอาศัยของกะท่าง จนไปถึงแอ่งน้ำบนดอยหญ้าหวาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,795 เมตร โดยธรรมชาติของกะท่างนั้นจะอาศัยในแอ่งน้ำบริเวณหุบบนยอดเขามีขนาดประมาณ 200 ตารางเมตร และเป็นน้ำที่ปกคลุมด้วยหญ้าที่มีความสูงไม่มากนัก มีก้อนหินขนาดใหญ่อยู่กลางแอ่งน้ำและนอกจากนั้นยังมีขอนไม้ล้มที่มีโพรงจมอยู่กับพื้นของแอ่งน้ำที่มีความลึกไม่มากนัก หรือประมาณครึ่งหน้าแข้ง

“บริเวณดังกล่าว ค้นพบกะท่างน้ำดอยภูคา ปีนอยู่ตามกอหญ้า ขอนไม้และก้อนหินกลางแอ่งน้ำ มากกว่า 50 ตัว และส่วนใหญ่เป็นตัวผู้ เมื่อสำรวจทั้งแอ่งน้ำและริมตลิ่ง พบว่ากะท่างน้ำดอยภูคากำลังมุ่งหน้าเข้าผืนป่า คาดเดาว่าเป็นช่วงปลายของฤดูผสมพันธุ์ ธรรมชาติของกะท่างน้ำ เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะวางไข่หลัง และทิ้งไข่ปล่อยให้ปรับตัวไปตามธรรมชาติ ส่วนตัวพ่อและแม่นั้นจะมุ่งหน้ากลับผืนป่า เพราะโดยธรรมชาติของ กะท่างจะใช้ชีวิตอยู่บนบกยกเว้นช่วงเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น ทั้งนี้การค้นพบดังกล่าว ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิทยาศาสตร์เป็นที่เรียบร้อย” ดร. ปรวีร์ กล่าว

อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม >>> https://bit.ly/3gpxpzR
Photo Credit by : bangkokbiznews
Article Credit by : bangkokbiznews

นักชีววิทยา จุฬาฯ ค้นพบ “กะท่างน้ำดอยภูคา”ชนิดใหม่ของโลก บนแนวเทือกเขาหลวงพระบาง ตัวชี้วัดสุขภาพสิ่งแวด….

อ่านต่อบน Facebook

Tourmatoes มะเขือเทศทัวร์