มาทำความรู้จัก 🌱 ชาเขียวญี่ปุ่นกัน ทำไมอะไรๆก็ชาเขียว? แต่ละชื่อต่างกันยังไง? รสชาติเป็นแบบไหน? มาทำความรู้จักกันดีกว่า… #Siamorchardgroup #iShoppingการเลือกร้านชาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะ ร้านชาญี่ปุ่นดีดี มีมากมาย ปัญหาที่น่าคิดต่อมา คือ เมนูชาญี่ปุ่น ที่หลากหลาย.. เอ้ะ ชาเขียว ชาข้าว ชาก้านญี่ปุ่น โอยย งงไปหมดเลยทีนี้ ต้องให้พี่ๆนักชงชา แนะนำลูกเดียวเลย ถ้างั้น วันนี้ ให้พวกเรา InfoStory ขออาสาช่วยให้เพื่อน ๆ รู้จัก และ เข้าใจ พื้นฐานของชาญี่ปุ่นกันมากขึ้น กับ คู่มือ “ชาเขียวญี่ปุ่น” ฉบับรวบรัด อันนี้กัน เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสในการรับชมภาพ ชาเขียวทั้ง 9 แบบ ของประเทศญี่ปุ่น ที่พวกเราเลือกนำเสนอมาใน Infographic แผ่นนี้ เราจะมาอธิบายแบบรวบรัด ในเรื่องของ การแบ่งรูปแบบของ “ชาเขียว” ในแต่ละระดับชั้นกัน คนญี่ปุ่นจะใช้ ปัจจัยในการแบ่งระดับ ที่เรียกว่า “ฤดูการเก็บเกี่ยวใบชา” เข้ามา อิจิบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว ต้นฤดูใบ้ไม้ผลิ (ต้นเดือนเมษายน) เราจะเรียกฤดูนี้ว่า ฤดูแห่งใบชาแรกผลิ คือการเก็บใบชาในครั้งแรกของปี โดยมากจะเป็นการเก็บใบชาอ่อน จึงทำให้ ใบชาที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะมีกลิ่นสด รสชาติหวานหอมจากใบชาอ่อน และมีจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก เหตุผลเช่นเดียวกัน จึงทำให้ชาชนิดนี้มีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะการหาแหล่งเก็บเกี่ยวนอกประเทศญี่ปุ่น นิบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว กลางฤดูใบ้ไม้ผลิ (มิถุนายน – กรกฎาคม) คำว่า “นิ” แปลตรงตัวว่า เลขสอง นิบันฉะ คือฤดูการเก็บเกี่ยวที่สอง ของญี่ปุ่น ที่จะกระทำหลังจาก 45-50 วัน หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวในครั้งแรก แน่นอนว่าในเรื่องของกลิ่น และรสชาติของใบชา ในกลุ่มนี้ อาจเทียบไม่ได้ เท่ากับใบชาในกลุ่มแรก จึงไม่แปลกใจที่ ต้นทุนของใบชากลุ่มนี้ จะมีราคาที่ย่อมเยาลงมา จนเราสามารถเห็นผลิตภัณฑ์ชาขวด หรือ ชากระป๋อง ที่มีสายพันธุ์ มาจากกลุ่มนี้ ตามร้านสะดวกซื้อ ซันบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว ฤดูร้อน (กรกฎาคม – สิงหาคม) ฤดูสุดท้าย แห่งการเก็บเกี่ยว ก่อนที่จะเข้าฤดูหนาว ใบชาในกลุ่มประเภทนี้ จะมีลักษณะทุกอย่าง ไม่แตกต่างมาก กับกลุ่มที่สองสักเท่าไร แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า ฤดูการเก็บเกี่ยวในช่วงหลัง ไม่ได้หมายความว่า ใบชาไม่ดี หรือ คุณภาพต่ำ แต่อย่างไร เพียงแต่ หากเราคาดหวังรสชาติที่ออกหวาน เราอาจจะไม่สามารถคาดหวังได้ จากชาที่เก็บเกี่ยวในนิบันฉะ และ ซันบันฉะ แต่เราจะได้พบกับ รสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้ในส่วนที่เหลือจากใบชา อย่างเช่น ก้านชา ลำต้นของชา ที่นำมาคั่ว แล้วจะทำให้เกิดกลิ่นหอมกลุ่น ไปได้อีกแบบหนึ่ง นั่นเอง เพื่อน ๆ รู้ไหมว่า ชาที่หายากมากที่สุด และ มีจำนวนการผลิตที่น้อยที่สุด คือ ชาญี่ปุ่น “เกียวขุโระ” โดย ชาเขียวประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่ม อิจิบันฉะ ซึ่งจะนิยมใช้ในพิธีชงชา หรือ พิธีการสำคัญของญี่ปุ่น ต่างๆ เกียวขุโระ จะไม่นิยมนำมาบริโภคตามร้านทั่วไป เนื่องจาก มีราคาแพงมาก โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น ปิดท้ายอีกนิดนึง รู้หรือไม่ว่า น้ำชาญี่ปุ่น ก็สามารถนำมาทำเป็นอาหารคาว ได้เหมือนกันนะ เมนูนี้ เรียกว่า โอฉะซึเกะ Ochazuke หรือ ข้าวราดน้ำชา ถูกจัดอยู่ในหมวดของอาหารของกินเล่น โดยคนญีปุ่นมักนำมารับประทาน ในช่วงเวลาเร่งรีบ ส่วนประกอบหลัก ที่แสนง่าย คือ เซนฉะต้ม ข้าวญี่ปุ่นเมล็ดสั้น และ สาหร่ายโนริแผ่นอบ #ชาเขียว #ชาญี่ปุ่น #ฤดูกาลเก็บเกี่ยว อ้างอิง https://lilikutea.com/blogs/column/all-you-need-to-know-about-ichibancha-first-flush-green-tea https://www.myjapanesegreentea.com/green-tea-harvests-in-japan https://japanesetea.sg/japanese-tea-pedia/shincha-and-ichibancha/ https://www.kyushuocha.com/japanese-tea-picking

มาทำความรู้จัก 🌱 ชาเขียวญี่ปุ่นกัน ทำไมอะไรๆก็ชาเขียว? แต่ละชื่อต่างกันยังไง? รสชาติเป็นแบบไหน? มาทำความรู้จักกันดีกว่า… #Siamorchardgroup #iShoppingการเลือกร้านชาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะ ร้านชาญี่ปุ่นดีดี มีมากมาย ปัญหาที่น่าคิดต่อมา คือ เมนูชาญี่ปุ่น ที่หลากหลาย.. เอ้ะ ชาเขียว ชาข้าว ชาก้านญี่ปุ่น โอยย งงไปหมดเลยทีนี้ ต้องให้พี่ๆนักชงชา แนะนำลูกเดียวเลย ถ้างั้น วันนี้ ให้พวกเรา InfoStory ขออาสาช่วยให้เพื่อน ๆ รู้จัก และ เข้าใจ พื้นฐานของชาญี่ปุ่นกันมากขึ้น กับ คู่มือ “ชาเขียวญี่ปุ่น” ฉบับรวบรัด อันนี้กัน เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสในการรับชมภาพ ชาเขียวทั้ง 9 แบบ ของประเทศญี่ปุ่น ที่พวกเราเลือกนำเสนอมาใน Infographic แผ่นนี้ เราจะมาอธิบายแบบรวบรัด ในเรื่องของ การแบ่งรูปแบบของ “ชาเขียว” ในแต่ละระดับชั้นกัน คนญี่ปุ่นจะใช้ ปัจจัยในการแบ่งระดับ ที่เรียกว่า “ฤดูการเก็บเกี่ยวใบชา” เข้ามา อิจิบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว ต้นฤดูใบ้ไม้ผลิ (ต้นเดือนเมษายน) เราจะเรียกฤดูนี้ว่า ฤดูแห่งใบชาแรกผลิ คือการเก็บใบชาในครั้งแรกของปี โดยมากจะเป็นการเก็บใบชาอ่อน จึงทำให้ ใบชาที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะมีกลิ่นสด รสชาติหวานหอมจากใบชาอ่อน และมีจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก เหตุผลเช่นเดียวกัน จึงทำให้ชาชนิดนี้มีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะการหาแหล่งเก็บเกี่ยวนอกประเทศญี่ปุ่น นิบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว กลางฤดูใบ้ไม้ผลิ (มิถุนายน – กรกฎาคม) คำว่า “นิ” แปลตรงตัวว่า เลขสอง นิบันฉะ คือฤดูการเก็บเกี่ยวที่สอง ของญี่ปุ่น ที่จะกระทำหลังจาก 45-50 วัน หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวในครั้งแรก แน่นอนว่าในเรื่องของกลิ่น และรสชาติของใบชา ในกลุ่มนี้ อาจเทียบไม่ได้ เท่ากับใบชาในกลุ่มแรก จึงไม่แปลกใจที่ ต้นทุนของใบชากลุ่มนี้ จะมีราคาที่ย่อมเยาลงมา จนเราสามารถเห็นผลิตภัณฑ์ชาขวด หรือ ชากระป๋อง ที่มีสายพันธุ์ มาจากกลุ่มนี้ ตามร้านสะดวกซื้อ ซันบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว ฤดูร้อน (กรกฎาคม – สิงหาคม) ฤดูสุดท้าย แห่งการเก็บเกี่ยว ก่อนที่จะเข้าฤดูหนาว ใบชาในกลุ่มประเภทนี้ จะมีลักษณะทุกอย่าง ไม่แตกต่างมาก กับกลุ่มที่สองสักเท่าไร แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า ฤดูการเก็บเกี่ยวในช่วงหลัง ไม่ได้หมายความว่า ใบชาไม่ดี หรือ คุณภาพต่ำ แต่อย่างไร เพียงแต่ หากเราคาดหวังรสชาติที่ออกหวาน เราอาจจะไม่สามารถคาดหวังได้ จากชาที่เก็บเกี่ยวในนิบันฉะ และ ซันบันฉะ แต่เราจะได้พบกับ รสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้ในส่วนที่เหลือจากใบชา อย่างเช่น ก้านชา ลำต้นของชา ที่นำมาคั่ว แล้วจะทำให้เกิดกลิ่นหอมกลุ่น ไปได้อีกแบบหนึ่ง นั่นเอง เพื่อน ๆ รู้ไหมว่า ชาที่หายากมากที่สุด และ มีจำนวนการผลิตที่น้อยที่สุด คือ ชาญี่ปุ่น “เกียวขุโระ” โดย ชาเขียวประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่ม อิจิบันฉะ ซึ่งจะนิยมใช้ในพิธีชงชา หรือ พิธีการสำคัญของญี่ปุ่น ต่างๆ เกียวขุโระ จะไม่นิยมนำมาบริโภคตามร้านทั่วไป เนื่องจาก มีราคาแพงมาก โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น ปิดท้ายอีกนิดนึง รู้หรือไม่ว่า น้ำชาญี่ปุ่น ก็สามารถนำมาทำเป็นอาหารคาว ได้เหมือนกันนะ เมนูนี้ เรียกว่า โอฉะซึเกะ Ochazuke หรือ ข้าวราดน้ำชา ถูกจัดอยู่ในหมวดของอาหารของกินเล่น โดยคนญีปุ่นมักนำมารับประทาน ในช่วงเวลาเร่งรีบ ส่วนประกอบหลัก ที่แสนง่าย คือ เซนฉะต้ม ข้าวญี่ปุ่นเมล็ดสั้น และ สาหร่ายโนริแผ่นอบ #ชาเขียว #ชาญี่ปุ่น #ฤดูกาลเก็บเกี่ยว อ้างอิง https://lilikutea.com/blogs/column/all-you-need-to-know-about-ichibancha-first-flush-green-tea https://www.myjapanesegreentea.com/green-tea-harvests-in-japan https://japanesetea.sg/japanese-tea-pedia/shincha-and-ichibancha/ https://www.kyushuocha.com/japanese-tea-picking

แชร์ให้เพื่อน!

มาทำความรู้จัก 🌱 ชาเขียวญี่ปุ่นกัน ทำไมอะไรๆก็ชาเขียว?
แต่ละชื่อต่างกันยังไง? รสชาติเป็นแบบไหน? มาทำความรู้จักกันดีกว่า…

#Siamorchardgroup #iShopping

161749285_141677864527452_17207857809280

การเลือกร้านชาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ไม่ใช่ปัญหาหลัก
เพราะ ร้านชาญี่ปุ่นดีดี มีมากมาย

ปัญหาที่น่าคิดต่อมา คือ เมนูชาญี่ปุ่น ที่หลากหลาย..
เอ้ะ ชาเขียว ชาข้าว ชาก้านญี่ปุ่น
โอยย งงไปหมดเลยทีนี้ ต้องให้พี่ๆนักชงชา แนะนำลูกเดียวเลย

ถ้างั้น วันนี้ ให้พวกเรา InfoStory ขออาสาช่วยให้เพื่อน ๆ รู้จัก และ เข้าใจ พื้นฐานของชาญี่ปุ่นกันมากขึ้น กับ
คู่มือ “ชาเขียวญี่ปุ่น” ฉบับรวบรัด อันนี้กัน

เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสในการรับชมภาพ ชาเขียวทั้ง 9 แบบ ของประเทศญี่ปุ่น
ที่พวกเราเลือกนำเสนอมาใน Infographic แผ่นนี้

เราจะมาอธิบายแบบรวบรัด ในเรื่องของ การแบ่งรูปแบบของ “ชาเขียว” ในแต่ละระดับชั้นกัน
คนญี่ปุ่นจะใช้ ปัจจัยในการแบ่งระดับ ที่เรียกว่า “ฤดูการเก็บเกี่ยวใบชา” เข้ามา

อิจิบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว ต้นฤดูใบ้ไม้ผลิ (ต้นเดือนเมษายน)
เราจะเรียกฤดูนี้ว่า ฤดูแห่งใบชาแรกผลิ
คือการเก็บใบชาในครั้งแรกของปี โดยมากจะเป็นการเก็บใบชาอ่อน

จึงทำให้ ใบชาที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะมีกลิ่นสด รสชาติหวานหอมจากใบชาอ่อน และมีจำนวนกรดอะมิโนที่มีอยู่สูงมาก เหตุผลเช่นเดียวกัน จึงทำให้ชาชนิดนี้มีราคาสูง และหาได้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะการหาแหล่งเก็บเกี่ยวนอกประเทศญี่ปุ่น

นิบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว กลางฤดูใบ้ไม้ผลิ (มิถุนายน – กรกฎาคม)
คำว่า “นิ” แปลตรงตัวว่า เลขสอง
นิบันฉะ คือฤดูการเก็บเกี่ยวที่สอง ของญี่ปุ่น ที่จะกระทำหลังจาก 45-50 วัน หลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวในครั้งแรก

แน่นอนว่าในเรื่องของกลิ่น และรสชาติของใบชา ในกลุ่มนี้ อาจเทียบไม่ได้ เท่ากับใบชาในกลุ่มแรก
จึงไม่แปลกใจที่ ต้นทุนของใบชากลุ่มนี้ จะมีราคาที่ย่อมเยาลงมา จนเราสามารถเห็นผลิตภัณฑ์ชาขวด หรือ ชากระป๋อง ที่มีสายพันธุ์ มาจากกลุ่มนี้ ตามร้านสะดวกซื้อ

ซันบันฉะ – ฤดูแห่งการเก็บเกี่ยว ฤดูร้อน (กรกฎาคม – สิงหาคม)

ฤดูสุดท้าย แห่งการเก็บเกี่ยว ก่อนที่จะเข้าฤดูหนาว
ใบชาในกลุ่มประเภทนี้ จะมีลักษณะทุกอย่าง ไม่แตกต่างมาก กับกลุ่มที่สองสักเท่าไร

แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า ฤดูการเก็บเกี่ยวในช่วงหลัง ไม่ได้หมายความว่า ใบชาไม่ดี หรือ คุณภาพต่ำ แต่อย่างไร
เพียงแต่ หากเราคาดหวังรสชาติที่ออกหวาน เราอาจจะไม่สามารถคาดหวังได้ จากชาที่เก็บเกี่ยวในนิบันฉะ และ ซันบันฉะ

แต่เราจะได้พบกับ รสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้ในส่วนที่เหลือจากใบชา อย่างเช่น ก้านชา ลำต้นของชา ที่นำมาคั่ว แล้วจะทำให้เกิดกลิ่นหอมกลุ่น ไปได้อีกแบบหนึ่ง นั่นเอง

เพื่อน ๆ รู้ไหมว่า ชาที่หายากมากที่สุด และ มีจำนวนการผลิตที่น้อยที่สุด คือ ชาญี่ปุ่น “เกียวขุโระ”
โดย ชาเขียวประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่ม อิจิบันฉะ ซึ่งจะนิยมใช้ในพิธีชงชา หรือ พิธีการสำคัญของญี่ปุ่น ต่างๆ
เกียวขุโระ จะไม่นิยมนำมาบริโภคตามร้านทั่วไป เนื่องจาก มีราคาแพงมาก
โดยทั่วไปในญี่ปุ่นมีการผลิตเกียวคุโระไม่ถึง 1% ของการผลิตชาทั้งหมดในญี่ปุ่น

ปิดท้ายอีกนิดนึง รู้หรือไม่ว่า น้ำชาญี่ปุ่น ก็สามารถนำมาทำเป็นอาหารคาว ได้เหมือนกันนะ
เมนูนี้ เรียกว่า โอฉะซึเกะ Ochazuke หรือ ข้าวราดน้ำชา ถูกจัดอยู่ในหมวดของอาหารของกินเล่น โดยคนญีปุ่นมักนำมารับประทาน ในช่วงเวลาเร่งรีบ
ส่วนประกอบหลัก ที่แสนง่าย คือ เซนฉะต้ม ข้าวญี่ปุ่นเมล็ดสั้น และ สาหร่ายโนริแผ่นอบ

#ชาเขียว
#ชาญี่ปุ่น
#ฤดูกาลเก็บเกี่ยว

อ้างอิง
https://lilikutea.com/blogs/column/all-you-need-to-know-about-ichibancha-first-flush-green-tea
https://www.myjapanesegreentea.com/green-tea-harvests-in-japan
https://japanesetea.sg/japanese-tea-pedia/shincha-and-ichibancha/
https://www.kyushuocha.com/japanese-tea-picking

อ่านต่อบน Facebook

Tourmatoes มะเขือเทศทัวร์