เผยความลับใต้ดินที่ทำให้โตเกียวน้ำไม่ท่วม อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ เป็นอ่างเก็บน้ำใต้ดินของญี่ปุ่นซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นวิหารพาร์เธนอนญี่ปุ่น ทำหน้าที่ป้องกันโตเกียวและพื้นที่โดยรอบจากภัยพิบัติน้ำท่วม อ่างเก็บน้ำดังกล่าวมีความลึก 72.1 เมตร สร้างขึ้นในปี 2006 ด้วยมูลค่า 230,000 ล้านเยน เชื่อมต่อกับอุโมงค์ 6.3 กิโลเมตร เสาทะยานมีน้ำหนัก 500 ตันแต่ละต้นรองรับอ่างเก็บน้ำหลัก ถังคอนกรีตเปลือยคาวมยาว 2 สนามฟุตบอล บริเวณอ่างเก็บน้ำมีช่องทางเปลี่ยนเส้นทางน้ำส่วนเกินจากพายุและไต้ฝุ่น และสามารถปล่อยน้ำสะสมลงสู่แม่น้ำเอโดกาวะที่อยู่ใกล้เคียงในอัตราเทียบเท่าการปล่อยน้ำในสระว่ายน้ำ 25 เมตร ทุกวินาทีด้วยเครื่องยนต์จัมโบ้เจ็ท ซึ่งน้ำส่วนเกินจะไหลโดยอัตโนมัติและผู้ปฏิบัติงานจะทำการสูบน้ำออจากถังหลักเมื่อเข้าใกล้ความจุ โนบุยูกิ อากิยามะ หัวหน้าไซต์งานกล่าวว่า “ในพื้นที่นี้ฝนกระหน่ำพายุไต้ฝุ่นและแม้กระทั่งฝนตกทุกวันอาจทำให้เกิดความเสียหายได้เนื่องจากบ้านเรือนและถนนจมอยู่ใต้น้ำ อ่างเก็บน้ำดังกล่าวจะช่วยลดจำนวนบ้านที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายจากน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์” โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฤดูฝนและพายุไต้ฝุ่นเข้าทำลายญี่ปุ่นหลายครั้ง ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มครั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 80 คน และเมื่อปีที่แล้วพายุไต้ฝุ่นคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 100 คน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาระบุว่าจำนวนพายุไต้ฝุ่นต่อปีที่คุกคามโตเกียวเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา โตเกียวมีเมืองที่ตัดผ่านแม่น้ำมากกว่า 100 แห่ง มีอ่างเก็บน้ำใต้ดินอีก 10 แห่งและอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน 3 แห่ง รวมถึงโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมอื่นๆ โดยระบบป้องกันน้ำท่วมของญี่ปุ่นถือเป็นระบบระดับโลกซึ่งได้บทเรียนมาจากภัยพิบัติครั้งใหญ่หลายครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไค โยชิมูระ ศาสตราจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำท่วมกล่าวว่าญี่ปุ่นมีสภาพอากาศที่มีน้ำท่วมและฝนตกหนักบ่อยครั้งแต่ยิ่งไปกว่านั้นคือภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ ถูกใช้งานไปแล้ว 7 ครั้งในปีนี้ โดยในเดือนกันยายนมีการปล่อยน้ำ 2 ครั้งจากฤดูฝนที่ยาวนานผิดปกติ นอกจากนี้ะยังได้เปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการจัดการภัยพิบัติ อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม >>> https://bit.ly/3nK7irP Photo Credit by : Posttoday Article Credit by : Posttoday เผยความลับใต้ดินที่ทำให้โตเกียวน้ำไม่ท่วมbit.ly’อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ’ ได้รับฉายาว่าวิหารพาร์เธนอนใต้ดินของญี่ปุ่นเพราะความใหญ่โตเหมือนวิหารกรีกโบ…..

เผยความลับใต้ดินที่ทำให้โตเกียวน้ำไม่ท่วม อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ เป็นอ่างเก็บน้ำใต้ดินของญี่ปุ่นซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นวิหารพาร์เธนอนญี่ปุ่น ทำหน้าที่ป้องกันโตเกียวและพื้นที่โดยรอบจากภัยพิบัติน้ำท่วม อ่างเก็บน้ำดังกล่าวมีความลึก 72.1 เมตร สร้างขึ้นในปี 2006 ด้วยมูลค่า 230,000 ล้านเยน เชื่อมต่อกับอุโมงค์ 6.3 กิโลเมตร เสาทะยานมีน้ำหนัก 500 ตันแต่ละต้นรองรับอ่างเก็บน้ำหลัก ถังคอนกรีตเปลือยคาวมยาว 2 สนามฟุตบอล บริเวณอ่างเก็บน้ำมีช่องทางเปลี่ยนเส้นทางน้ำส่วนเกินจากพายุและไต้ฝุ่น และสามารถปล่อยน้ำสะสมลงสู่แม่น้ำเอโดกาวะที่อยู่ใกล้เคียงในอัตราเทียบเท่าการปล่อยน้ำในสระว่ายน้ำ 25 เมตร ทุกวินาทีด้วยเครื่องยนต์จัมโบ้เจ็ท ซึ่งน้ำส่วนเกินจะไหลโดยอัตโนมัติและผู้ปฏิบัติงานจะทำการสูบน้ำออจากถังหลักเมื่อเข้าใกล้ความจุ โนบุยูกิ อากิยามะ หัวหน้าไซต์งานกล่าวว่า “ในพื้นที่นี้ฝนกระหน่ำพายุไต้ฝุ่นและแม้กระทั่งฝนตกทุกวันอาจทำให้เกิดความเสียหายได้เนื่องจากบ้านเรือนและถนนจมอยู่ใต้น้ำ อ่างเก็บน้ำดังกล่าวจะช่วยลดจำนวนบ้านที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายจากน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์” โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฤดูฝนและพายุไต้ฝุ่นเข้าทำลายญี่ปุ่นหลายครั้ง ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มครั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 80 คน และเมื่อปีที่แล้วพายุไต้ฝุ่นคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 100 คน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาระบุว่าจำนวนพายุไต้ฝุ่นต่อปีที่คุกคามโตเกียวเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา โตเกียวมีเมืองที่ตัดผ่านแม่น้ำมากกว่า 100 แห่ง มีอ่างเก็บน้ำใต้ดินอีก 10 แห่งและอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน 3 แห่ง รวมถึงโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมอื่นๆ โดยระบบป้องกันน้ำท่วมของญี่ปุ่นถือเป็นระบบระดับโลกซึ่งได้บทเรียนมาจากภัยพิบัติครั้งใหญ่หลายครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไค โยชิมูระ ศาสตราจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำท่วมกล่าวว่าญี่ปุ่นมีสภาพอากาศที่มีน้ำท่วมและฝนตกหนักบ่อยครั้งแต่ยิ่งไปกว่านั้นคือภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรง ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ ถูกใช้งานไปแล้ว 7 ครั้งในปีนี้ โดยในเดือนกันยายนมีการปล่อยน้ำ 2 ครั้งจากฤดูฝนที่ยาวนานผิดปกติ นอกจากนี้ะยังได้เปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการจัดการภัยพิบัติ อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม >>> https://bit.ly/3nK7irP Photo Credit by : Posttoday Article Credit by : Posttoday เผยความลับใต้ดินที่ทำให้โตเกียวน้ำไม่ท่วมbit.ly’อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ’ ได้รับฉายาว่าวิหารพาร์เธนอนใต้ดินของญี่ปุ่นเพราะความใหญ่โตเหมือนวิหารกรีกโบ…..

แชร์ให้เพื่อน!

เผยความลับใต้ดินที่ทำให้โตเกียวน้ำไม่ท่วม

อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ เป็นอ่างเก็บน้ำใต้ดินของญี่ปุ่นซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นวิหารพาร์เธนอนญี่ปุ่น ทำหน้าที่ป้องกันโตเกียวและพื้นที่โดยรอบจากภัยพิบัติน้ำท่วม

อ่างเก็บน้ำดังกล่าวมีความลึก 72.1 เมตร สร้างขึ้นในปี 2006 ด้วยมูลค่า 230,000 ล้านเยน เชื่อมต่อกับอุโมงค์ 6.3 กิโลเมตร เสาทะยานมีน้ำหนัก 500 ตันแต่ละต้นรองรับอ่างเก็บน้ำหลัก ถังคอนกรีตเปลือยคาวมยาว 2 สนามฟุตบอล

บริเวณอ่างเก็บน้ำมีช่องทางเปลี่ยนเส้นทางน้ำส่วนเกินจากพายุและไต้ฝุ่น และสามารถปล่อยน้ำสะสมลงสู่แม่น้ำเอโดกาวะที่อยู่ใกล้เคียงในอัตราเทียบเท่าการปล่อยน้ำในสระว่ายน้ำ 25 เมตร ทุกวินาทีด้วยเครื่องยนต์จัมโบ้เจ็ท ซึ่งน้ำส่วนเกินจะไหลโดยอัตโนมัติและผู้ปฏิบัติงานจะทำการสูบน้ำออจากถังหลักเมื่อเข้าใกล้ความจุ

โนบุยูกิ อากิยามะ หัวหน้าไซต์งานกล่าวว่า “ในพื้นที่นี้ฝนกระหน่ำพายุไต้ฝุ่นและแม้กระทั่งฝนตกทุกวันอาจทำให้เกิดความเสียหายได้เนื่องจากบ้านเรือนและถนนจมอยู่ใต้น้ำ อ่างเก็บน้ำดังกล่าวจะช่วยลดจำนวนบ้านที่ได้รับผลกระทบจากความเสียหายจากน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์”

โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฤดูฝนและพายุไต้ฝุ่นเข้าทำลายญี่ปุ่นหลายครั้ง ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมและดินถล่มครั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 80 คน และเมื่อปีที่แล้วพายุไต้ฝุ่นคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 100 คน

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาระบุว่าจำนวนพายุไต้ฝุ่นต่อปีที่คุกคามโตเกียวเพิ่มขึ้น 1.5 เท่าในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา

โตเกียวมีเมืองที่ตัดผ่านแม่น้ำมากกว่า 100 แห่ง มีอ่างเก็บน้ำใต้ดินอีก 10 แห่งและอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน 3 แห่ง รวมถึงโครงสร้างป้องกันน้ำท่วมอื่นๆ โดยระบบป้องกันน้ำท่วมของญี่ปุ่นถือเป็นระบบระดับโลกซึ่งได้บทเรียนมาจากภัยพิบัติครั้งใหญ่หลายครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ไค โยชิมูระ ศาสตราจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำท่วมกล่าวว่าญี่ปุ่นมีสภาพอากาศที่มีน้ำท่วมและฝนตกหนักบ่อยครั้งแต่ยิ่งไปกว่านั้นคือภาวะโลกร้อนที่กำลังทวีความรุนแรง

ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ ถูกใช้งานไปแล้ว 7 ครั้งในปีนี้ โดยในเดือนกันยายนมีการปล่อยน้ำ 2 ครั้งจากฤดูฝนที่ยาวนานผิดปกติ นอกจากนี้ะยังได้เปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมในช่วงที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการจัดการภัยพิบัติ

อ่านรายละเอียด เพิ่มเติม >>> https://bit.ly/3nK7irP
Photo Credit by : Posttoday
Article Credit by : Posttoday

‘อ่างเก็บน้ำคาซึคาเบะ’ ได้รับฉายาว่าวิหารพาร์เธนอนใต้ดินของญี่ปุ่นเพราะความใหญ่โตเหมือนวิหารกรีกโบ…..

อ่านต่อบน Facebook

Tourmatoes มะเขือเทศทัวร์