New Year, New You รู้เรื่องกองทุนรวมใน 6 Stones (Episode 4) ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แอดมินขอรวบรวมความรู้ทั้งปีมาไว้ที่ 6 Infinity Stones ท่านใดเก็บอัญมณีครบทั้ง 6 เม็ดขอให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนนะครับ^^ ========================== พอร์ตการลงทุนจะโตเป็นเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแก้ว 3 ประการคือ 1. เงินลงทุน 2. ผลตอบแทน 3. ระยะเวลา ท่านได้เรียนรู้เรื่องระยะเวลาและเงินทุนไปแล้ว ตอนนี้จะเป็นแก้วประการสดท้ายคือผลตอบแทนครับกับ Power Stone “High risk, High return, High loss” ก่อนอื่นขอให้รู้จักความแตกต่างของ 3 สิ่งนี้ก่อน การพนัน เช่นการซื้อหวย ถ้าถูกจะได้รางวัลแต่ถ้าไม่ถูกจะสูญเงินต้นไปเลยเช่น การฝากเงิน เช่นบัญชีออมทรัพย์ เงินต้นจะเท่าเดิม เพิ่มเติมคือได้ดอกเบี้ย การลงทุน(Investment) เงินต้นอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลงทุนไปได้กำไรหรือขาดทุน เงินออมที่เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ฉุกเฉินแปลว่าสภาพคล่องต้องสูงคือถอนออกมาใช้ได้ทุกวัน แนะนำให้เก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ดิจิทัลดอกเบี้ยสูง 1.5% ต่อปีขึ้นไป(ตามโพยในรูป) จากซีรีส์หนังสือ “พ่อรวยสอนลูก(Rich Dad Poor Dad)” จำแนกรายได้เป็น 4 ประเภทคือ ESBI ดังนี้ครับ กลุ่ม Active income คือใช้แรงทำเงิน ได้แก่ E: Employee ลูกจ้าง S: Self employee กิจการส่วนตัว freelance กลุ่ม Passive income คือมีสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้โดยไม่ต้องออกแรงทำงาน ได้แก่ B: Business owner เจ้าของธุรกิจ เจ้าของลิขสิทธิ์ I: Investor นักลงทุน การจะเป็นเจ้าของธุรกิจโดยตรงต้องมีเงินทุนเยอะ ครั้นจะซื้อหุ้นเองเป็นตัวๆ ไปจะต้องใช้เงินรวมถึงเวลาศึกษาไม่น้อยเช่นกัน ถ้าหุ้นตัวนั้นเจ๊งเราก็เจ๊งไปด้วย มนุษย์เงินเดือนตัวน้อยๆ อย่างเราจึงเหมาะกับการลงทุนในกองทุนรวม เพราะมีข้อดีคือใช้เงินลงทุนน้อยบาทเดียวก็ซื้อได้ ที่สำคัญซื้อกองเดียวแต่ได้ลงทุนในหุ้นหลักสิบถึงพันตัว ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีคือถ้าหุ้นตัวหนึ่งขึ้นอีกตัวลงเฉลี่ยกันไปนั่นเอง กองทุนรวม(mutual fund) เป็นการรวบรวมเงินลงทุนจากคนตัวเล็กหลายๆ คนจนเป็นเงินก้อนใหญ่แล้วนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ 1 ไปจนถึงระดับ 8 (ตามรูป) โดยกองทุนหุ้น(equity fund) จัดอยู่ในความเสี่ยงระดับ 6-7 และสินทรัพย์ทางเลือกอยู่ในความเสี่ยงระดับ 8 หัวใจของการลงทุนในกองทุนรวมคือการสะสม “หน่วยลงทุน” ครับ ดังนั้นนักลงทุนจึงหวังจะได้จำนวนหน่วยมากที่สุดด้วยจำนวนเงินน้อยที่สุด!!! ตอนสิ้นสุดของวันทางกองทุนรวมจะคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาด ค่าใช้จ่ายรวม(Total expense ratio: TER) ที่แจ้งเป็น % ต่อปีนั้นทางกองทุนจะเอาจำนวนวันของปีมาหารเพื่อคิดเป็นค่าธรรมเนียมของ 1 วันแล้วนำไปหักออกจากมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนได้ออกมาเป็น “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ” หรือ “Net Asset Value(NAV)” เมื่อนำ NAV หารด้วยจำนวนหน่วยของกองทุนจะออกมาเป็น “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” นั่นเอง ซึ่งกองทุนจะแจ้งราคานี้ใน 1-2 วันทำการถัดไป ดังนั้นเวลาซื้อกองทุนราคาต่อหน่วยที่ท่านเห็นคือราคาของเมื่อวันก่อน เราซื้อวันนี้จะได้ราคาของวันนี้ซึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นเท่าไหร่(ไม่ real time เหมือนการซื้อหุ้นเป็นรายตัว) กองทุนรวมเป็นการสะสมหน่วยลงทุนและสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือต้นทุนราคาต่อหน่วย(NAV) ที่เราได้มา ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้ NAV ที่ได้ = NAV + (NAV x ค่าธรรมเนียมขาเข้า) กรณีเราซื้อกองทุนที่ไม่มีค่าธรรมเนียมขาเข้า วันที่ซื้อ NAV 12 บาท NAV ที่ได้ = 12 + (12 x 0) = 12 บาท เท่ากับ NAV ของวันที่ซื้อคือเท่าทุนนั่นเอง ซื้อวันไหนก็ใช้ NAV วันนั้น แต่หน่วยลงทุนจะเข้ามายังพอร์ตในอีก 2-3 วันทำการให้หลังแล้วแต่กองทุนครับ กรณีเราซื้อกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมขาเข้า 1% วันที่ซื้อ NAV 12 บาท NAV ที่ได้ = 12 + (12 x 1%) = 12 + 0.12 = 12.12 บาทซึ่งสูงกว่า NAV ของวันที่ซื้อ ดังนั้นวันแรกที่ซื้อมูลค่าจึงติดลบตามค่าธรรมเนียมขาเข้านั่นเอง เมื่อถือหน่วยลงทุนต่อไปเรื่อยๆ จน NAV ของกองทุนสูงขึ้นเกิน 12.12 บาท จากติดลบจะกลายเป็นบวกครับ พูดถึงตอนซื้อแล้วขอพูดถึงตอนขายต่อเลยแล้วกัน เวลาขายจะเป็นสูตรดังนี้ NAV ที่ขาย = NAV – (NAV x ค่าธรรมเนียมขาออก) กรณีเราขายกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมขาออก 0.5% วันที่ขาย NAV 14 บาท NAV ที่ขาย = 14 – (14 x 0.5%) = 14 – 0.07 = 13.93 บาท กรณีขาย 100 หน่วยจะได้เงิน 100 x 13.93 = 1,393 บาท (ถ้ากองทุนไม่มีค่าธรรมเนียมขาออกจะได้เต็มๆ 100 x 14 = 1,400 บาทนั่นเอง) กองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงินในธนาคารที่ถอนปุ๊บได้เงินปั๊บ เงินที่ขายได้จะเข้าบัญชีวันที่ T + ตัวเลข แล้วแต่กองทุนนั้นกำหนดเช่น กองทุนกำหนดไว้ T+4 หมายความว่าขายวันนี้(ได้ NAV วันนี้) ส่วนเงินจะเข้าบัญชีในอีก 4 วันทำการ(ไม่รวมวันหยุด) ข้อควรรู้!!! NAV วันที่ทำรายการไม่มีใครรู้ล่วงหน้าเพราะต้องรอสิ้นสุดวันทางกองทุนจึงจะสรุป NAV ของวันนั้น(NAV ที่เราเห็นเป็น NAV ของวันก่อนหน้าครับ) กองทุนรวมตราสารทุนแต่ละกองถือหุ้น 30-50 ตัว เราคาดว่า NAV วันนี้จะลงแต่มันอาจจะขึ้นก็ได้ เราคาดว่า NAV วันนี้จะขึ้นแต่มันอาจจะลงก็ได้ ============================= กองทุนมีมากมาย เพื่อไม่ให้งงแนะนำจำแนกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ จำแนกตามพื้นที่ – ตลาดพัฒนาแล้ว(DM) 23 ประเทศได้แก่ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ค่อนข้างมั่นคง – ตลาดเกิดใหม่(EM) 27 ประเทศได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น ค่อนข้างผันผวน – ตลาดชายขอบ(FM) ได้แก่ เวียดนาม เป็นต้น ผันผวนมากกก – ทั่วโลก(global) ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนทั่วโลกไม่จำกัดพื้นที่ จำแนกตามลักษณะสินทรัพย์ – กลุ่ม growth ได้แก่ sector เทคโนโลยี เป็นต้น – กลุ่ม cyclical(หรือ value) ได้แก่ sector financial, consumer discretionary, material, industrial เป็นต้น – กลุ่ม defensive ได้แก่ sector health care, infrastructure, consumer staples เป็นต้น – กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ – กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น – Thematic fund ได้แก่ กองทุนธีมนวัตกรรม, ธีมพลังงานสะอาด, ธีมฟินเทค เป็นต้น จำแนกตามนโยบายการลงทุน -กองทุนหุ้นแบบ Active คือผู้จัดการกองทุนเลือกซื้อหุ้นเองว่าจะซื้อตัวไหน/สัดส่วนเท่าไหร่ ส่วน-กองทุนหุ้นแบบ Passive คือดัชนีมีหุ้นกี่ตัว/สัดส่วนเท่าไหร่ กองทุนก็ซื้อหุ้นล้อไปตามนั้น นั่นคือ Active fund ขึ้นอยู่กับ “ฝีมือของผู้จัดการกองทุน” เปลี่ยนผู้จัดการผลงานก็เปลี่ยนได้ กองทุนในไทยเปลี่ยนกองแม่ผลงานก็เปลี่ยนได้ จำแนกตามสิทธิพิเศษ – กองทุนเปิดทั่วไป ซื้อขายได้ทุกวันทำการ – กองทุนลดหย่อนภาษี SSF เงื่อนไขหลักคือถือยาว 10 ปี – กองทุนลดหย่อนภาษี RMF เงื่อนไขหลักคือถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี จำแนกตามคลาส – กองทุนรวม class A คือสะสมมูลค่า(Accumulation) หมายความว่าถ้าผู้ลงทุนต้องการรับผลตอบแทนจะต้องทำรายการขายหน่วยลงทุนด้วยตัวเอง กำไรจากส่วนต่างราคา(capital gain) ไม่ต้องเสียตามภาษีเรียกว่าได้รับเต็ม 100% นั่นเอง -กองทุนรวม class E เหมือน class A แต่ทำรายการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ข้อดีคือค่าธรรมเนียมต่ำมากกก -กองทุนรวม class D คืออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนด้วยการจ่ายปันผล(Dividend) เป็นตัวเงินอัตโนมัติ เช่นถ้ากองทุนประกาศจ่ายปันผล 1 บาทต่อหน่วย ตัวอย่างเรามีอยู่ 10 หน่วยจะเป็น 1 บาท x 10 หน่วย = 10 บาท แต่เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ตามระเบียบ นั่นคือผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจริงเพียง 9 บาทนั่นเอง โดยยังคงมีหน่วย 10 หน่วยเท่าเดิม ส่วนกองทุน NAV จะลดลงจาก 11 เหลือ 10 บาทตามสัดส่วนเงินที่ปันผลออกไปครับ -กองทุนรวม class R หรือกองทุนรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ(Auto Redemption) กล่าวคือแทนที่จะจ่ายปันผลเป็นเงินกองทุนประเภทนี้จะทำการปันหน่วยแทน ตัวอย่างกองทุนประกาศขายคืนหน่วยอัตโนมัติจำนวน 0.9090 หน่วย x NAV 11 บาท นักลงทุนจะได้รับเงินเต็มๆ 10 บาท(ไม่โดนหักภาษีเหมือน class D ) โดย NAV ของกองทุนจะยังคงเดิมที่ 11 บาท แต่หน่วยของเราจะลดลงจาก 10 หน่วยเหลือ 9.091 หน่วยนั่นเอง จำแนกตามการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน(Currency Hedge) กองทุนรวมไทยที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ(Foreign Investment Fund: FIF) มีรูปแบบย่อยดังนี้ -Feeder fund คือ FIF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวเลย โดยกองทุนต่างประเทศที่บริหารเงินนั้นจะเรียกกองทุนแม่หรือ Master fund แต่ละกองทุนจะถือหุ้นหลายสิบตัวเพื่อกระจายความเสี่ยง ในหนังสือชี้ชวนจะแจ้งไว้ว่ากองทุนแม่นำเงินไปลงทุนในหุ้นใดบ้างและสัดส่วนกี่ % เช่น ลงทุนในหุ้น Tesla 5%, Amazon 4%, Apple 4% เป็นต้น -Fund of funds คือ FIF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศมากกว่า 1 กองนั่นเอง เนื่องจาก FIF ซื้อขายด้วยเงินสกุลต่างประเทศดังนั้นตอนซื้อต้องแลกเงินบาทเป็นเงินสกุลนั้นๆ ก่อน ตอนขายจึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินด้วยเช่น -ตอนขายหน่วยถ้าเงินสกุลนั้นอ่อน(หรือเงินบาทแข็ง) เวลาแลกกลับมาเป็นเงินบาทเราอาจจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ -กลับกันตอนขายหน่วยถ้าเงินสกุลนั้นแข็ง(หรือเงินบาทอ่อน) เวลาแลกกลับมาเป็นเงินบาทเราอาจจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน FIF บางกองจึงมีการทำประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เราเห็นตัวอักษร H ในชื่อกองทุนนั่นเองโดยแบ่งการ Hedge เป็น 3 แบบคือ – ป้องกันความเสี่ยงเต็มที่ – ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน จะป้องกัน 70% 80% 90% ก็ว่ากันไป – ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน นักลงทุนที่มองว่าแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าจึงลงทุนในกองที่ไม่ H เพื่อหวังผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง ======================== TCS แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะคือ ระยะสั้น 1-4 ปี เหมาะกับกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยง 4 (ผลตอบแทนคาดหวัง 2-3% ต่อปี) ระยะกลาง 5-9 ปี เหมาะกับกองทุนผสม(ตราสารหนี้+หุ้น) ความเสี่ยง 5 (ผลตอบแทนคาดหวัง 4-5% ต่อปี) ระยะยาว 10 ปีขึ้นไป เหมาะกับกองทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือก ความเสี่ยงระดับ 6-8 (ผลตอบแทนคาดหวัง 6-8% ต่อปี) จะเห็นว่ากองทุนรวมความเสี่ยงยิ่งสูง ผลตอบแทนคาดหวังยิ่งสูง แต่อย่าลืมว่าความเสี่ยงต่อการขาดทุนก็สูงด้วยเช่นกัน สรุปได้ว่า “High risk, High return, High loss” สไตล์ TCS เป็นการลงทุนระยะยาว 20 ปี รับความเสี่ยงได้สูงจึงเหมาะกับกองทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือกเพื่อรับผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดนั่นเอง [Take home message] “If you don’t find a way to make money while you sleep, you will work until you die.” Warren Buffett “ถ้าคุณไม่หาวิธีทำเงินในขณะนอนหลับได้ คุณจะต้องทำงานไปจนวันตาย” #2DecadesInvestor #นักลงทุน2ทศวรรษPhotos from Thai-Cashless-Society สังคมไทยไร้เงินสด’s post

New Year, New You รู้เรื่องกองทุนรวมใน 6 Stones (Episode 4) ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แอดมินขอรวบรวมความรู้ทั้งปีมาไว้ที่ 6 Infinity Stones ท่านใดเก็บอัญมณีครบทั้ง 6 เม็ดขอให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนนะครับ^^ ========================== พอร์ตการลงทุนจะโตเป็นเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแก้ว 3 ประการคือ 1. เงินลงทุน 2. ผลตอบแทน 3. ระยะเวลา ท่านได้เรียนรู้เรื่องระยะเวลาและเงินทุนไปแล้ว ตอนนี้จะเป็นแก้วประการสดท้ายคือผลตอบแทนครับกับ Power Stone “High risk, High return, High loss” ก่อนอื่นขอให้รู้จักความแตกต่างของ 3 สิ่งนี้ก่อน การพนัน เช่นการซื้อหวย ถ้าถูกจะได้รางวัลแต่ถ้าไม่ถูกจะสูญเงินต้นไปเลยเช่น การฝากเงิน เช่นบัญชีออมทรัพย์ เงินต้นจะเท่าเดิม เพิ่มเติมคือได้ดอกเบี้ย การลงทุน(Investment) เงินต้นอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลงทุนไปได้กำไรหรือขาดทุน เงินออมที่เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ฉุกเฉินแปลว่าสภาพคล่องต้องสูงคือถอนออกมาใช้ได้ทุกวัน แนะนำให้เก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ดิจิทัลดอกเบี้ยสูง 1.5% ต่อปีขึ้นไป(ตามโพยในรูป) จากซีรีส์หนังสือ “พ่อรวยสอนลูก(Rich Dad Poor Dad)” จำแนกรายได้เป็น 4 ประเภทคือ ESBI ดังนี้ครับ กลุ่ม Active income คือใช้แรงทำเงิน ได้แก่ E: Employee ลูกจ้าง S: Self employee กิจการส่วนตัว freelance กลุ่ม Passive income คือมีสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้โดยไม่ต้องออกแรงทำงาน ได้แก่ B: Business owner เจ้าของธุรกิจ เจ้าของลิขสิทธิ์ I: Investor นักลงทุน การจะเป็นเจ้าของธุรกิจโดยตรงต้องมีเงินทุนเยอะ ครั้นจะซื้อหุ้นเองเป็นตัวๆ ไปจะต้องใช้เงินรวมถึงเวลาศึกษาไม่น้อยเช่นกัน ถ้าหุ้นตัวนั้นเจ๊งเราก็เจ๊งไปด้วย มนุษย์เงินเดือนตัวน้อยๆ อย่างเราจึงเหมาะกับการลงทุนในกองทุนรวม เพราะมีข้อดีคือใช้เงินลงทุนน้อยบาทเดียวก็ซื้อได้ ที่สำคัญซื้อกองเดียวแต่ได้ลงทุนในหุ้นหลักสิบถึงพันตัว ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีคือถ้าหุ้นตัวหนึ่งขึ้นอีกตัวลงเฉลี่ยกันไปนั่นเอง กองทุนรวม(mutual fund) เป็นการรวบรวมเงินลงทุนจากคนตัวเล็กหลายๆ คนจนเป็นเงินก้อนใหญ่แล้วนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ 1 ไปจนถึงระดับ 8 (ตามรูป) โดยกองทุนหุ้น(equity fund) จัดอยู่ในความเสี่ยงระดับ 6-7 และสินทรัพย์ทางเลือกอยู่ในความเสี่ยงระดับ 8 หัวใจของการลงทุนในกองทุนรวมคือการสะสม “หน่วยลงทุน” ครับ ดังนั้นนักลงทุนจึงหวังจะได้จำนวนหน่วยมากที่สุดด้วยจำนวนเงินน้อยที่สุด!!! ตอนสิ้นสุดของวันทางกองทุนรวมจะคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาด ค่าใช้จ่ายรวม(Total expense ratio: TER) ที่แจ้งเป็น % ต่อปีนั้นทางกองทุนจะเอาจำนวนวันของปีมาหารเพื่อคิดเป็นค่าธรรมเนียมของ 1 วันแล้วนำไปหักออกจากมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนได้ออกมาเป็น “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ” หรือ “Net Asset Value(NAV)” เมื่อนำ NAV หารด้วยจำนวนหน่วยของกองทุนจะออกมาเป็น “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” นั่นเอง ซึ่งกองทุนจะแจ้งราคานี้ใน 1-2 วันทำการถัดไป ดังนั้นเวลาซื้อกองทุนราคาต่อหน่วยที่ท่านเห็นคือราคาของเมื่อวันก่อน เราซื้อวันนี้จะได้ราคาของวันนี้ซึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นเท่าไหร่(ไม่ real time เหมือนการซื้อหุ้นเป็นรายตัว) กองทุนรวมเป็นการสะสมหน่วยลงทุนและสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือต้นทุนราคาต่อหน่วย(NAV) ที่เราได้มา ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้ NAV ที่ได้ = NAV + (NAV x ค่าธรรมเนียมขาเข้า) กรณีเราซื้อกองทุนที่ไม่มีค่าธรรมเนียมขาเข้า วันที่ซื้อ NAV 12 บาท NAV ที่ได้ = 12 + (12 x 0) = 12 บาท เท่ากับ NAV ของวันที่ซื้อคือเท่าทุนนั่นเอง ซื้อวันไหนก็ใช้ NAV วันนั้น แต่หน่วยลงทุนจะเข้ามายังพอร์ตในอีก 2-3 วันทำการให้หลังแล้วแต่กองทุนครับ กรณีเราซื้อกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมขาเข้า 1% วันที่ซื้อ NAV 12 บาท NAV ที่ได้ = 12 + (12 x 1%) = 12 + 0.12 = 12.12 บาทซึ่งสูงกว่า NAV ของวันที่ซื้อ ดังนั้นวันแรกที่ซื้อมูลค่าจึงติดลบตามค่าธรรมเนียมขาเข้านั่นเอง เมื่อถือหน่วยลงทุนต่อไปเรื่อยๆ จน NAV ของกองทุนสูงขึ้นเกิน 12.12 บาท จากติดลบจะกลายเป็นบวกครับ พูดถึงตอนซื้อแล้วขอพูดถึงตอนขายต่อเลยแล้วกัน เวลาขายจะเป็นสูตรดังนี้ NAV ที่ขาย = NAV – (NAV x ค่าธรรมเนียมขาออก) กรณีเราขายกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมขาออก 0.5% วันที่ขาย NAV 14 บาท NAV ที่ขาย = 14 – (14 x 0.5%) = 14 – 0.07 = 13.93 บาท กรณีขาย 100 หน่วยจะได้เงิน 100 x 13.93 = 1,393 บาท (ถ้ากองทุนไม่มีค่าธรรมเนียมขาออกจะได้เต็มๆ 100 x 14 = 1,400 บาทนั่นเอง) กองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงินในธนาคารที่ถอนปุ๊บได้เงินปั๊บ เงินที่ขายได้จะเข้าบัญชีวันที่ T + ตัวเลข แล้วแต่กองทุนนั้นกำหนดเช่น กองทุนกำหนดไว้ T+4 หมายความว่าขายวันนี้(ได้ NAV วันนี้) ส่วนเงินจะเข้าบัญชีในอีก 4 วันทำการ(ไม่รวมวันหยุด) ข้อควรรู้!!! NAV วันที่ทำรายการไม่มีใครรู้ล่วงหน้าเพราะต้องรอสิ้นสุดวันทางกองทุนจึงจะสรุป NAV ของวันนั้น(NAV ที่เราเห็นเป็น NAV ของวันก่อนหน้าครับ) กองทุนรวมตราสารทุนแต่ละกองถือหุ้น 30-50 ตัว เราคาดว่า NAV วันนี้จะลงแต่มันอาจจะขึ้นก็ได้ เราคาดว่า NAV วันนี้จะขึ้นแต่มันอาจจะลงก็ได้ ============================= กองทุนมีมากมาย เพื่อไม่ให้งงแนะนำจำแนกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ จำแนกตามพื้นที่ – ตลาดพัฒนาแล้ว(DM) 23 ประเทศได้แก่ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ค่อนข้างมั่นคง – ตลาดเกิดใหม่(EM) 27 ประเทศได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น ค่อนข้างผันผวน – ตลาดชายขอบ(FM) ได้แก่ เวียดนาม เป็นต้น ผันผวนมากกก – ทั่วโลก(global) ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนทั่วโลกไม่จำกัดพื้นที่ จำแนกตามลักษณะสินทรัพย์ – กลุ่ม growth ได้แก่ sector เทคโนโลยี เป็นต้น – กลุ่ม cyclical(หรือ value) ได้แก่ sector financial, consumer discretionary, material, industrial เป็นต้น – กลุ่ม defensive ได้แก่ sector health care, infrastructure, consumer staples เป็นต้น – กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ – กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น – Thematic fund ได้แก่ กองทุนธีมนวัตกรรม, ธีมพลังงานสะอาด, ธีมฟินเทค เป็นต้น จำแนกตามนโยบายการลงทุน -กองทุนหุ้นแบบ Active คือผู้จัดการกองทุนเลือกซื้อหุ้นเองว่าจะซื้อตัวไหน/สัดส่วนเท่าไหร่ ส่วน-กองทุนหุ้นแบบ Passive คือดัชนีมีหุ้นกี่ตัว/สัดส่วนเท่าไหร่ กองทุนก็ซื้อหุ้นล้อไปตามนั้น นั่นคือ Active fund ขึ้นอยู่กับ “ฝีมือของผู้จัดการกองทุน” เปลี่ยนผู้จัดการผลงานก็เปลี่ยนได้ กองทุนในไทยเปลี่ยนกองแม่ผลงานก็เปลี่ยนได้ จำแนกตามสิทธิพิเศษ – กองทุนเปิดทั่วไป ซื้อขายได้ทุกวันทำการ – กองทุนลดหย่อนภาษี SSF เงื่อนไขหลักคือถือยาว 10 ปี – กองทุนลดหย่อนภาษี RMF เงื่อนไขหลักคือถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี จำแนกตามคลาส – กองทุนรวม class A คือสะสมมูลค่า(Accumulation) หมายความว่าถ้าผู้ลงทุนต้องการรับผลตอบแทนจะต้องทำรายการขายหน่วยลงทุนด้วยตัวเอง กำไรจากส่วนต่างราคา(capital gain) ไม่ต้องเสียตามภาษีเรียกว่าได้รับเต็ม 100% นั่นเอง -กองทุนรวม class E เหมือน class A แต่ทำรายการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ข้อดีคือค่าธรรมเนียมต่ำมากกก -กองทุนรวม class D คืออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนด้วยการจ่ายปันผล(Dividend) เป็นตัวเงินอัตโนมัติ เช่นถ้ากองทุนประกาศจ่ายปันผล 1 บาทต่อหน่วย ตัวอย่างเรามีอยู่ 10 หน่วยจะเป็น 1 บาท x 10 หน่วย = 10 บาท แต่เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ตามระเบียบ นั่นคือผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจริงเพียง 9 บาทนั่นเอง โดยยังคงมีหน่วย 10 หน่วยเท่าเดิม ส่วนกองทุน NAV จะลดลงจาก 11 เหลือ 10 บาทตามสัดส่วนเงินที่ปันผลออกไปครับ -กองทุนรวม class R หรือกองทุนรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ(Auto Redemption) กล่าวคือแทนที่จะจ่ายปันผลเป็นเงินกองทุนประเภทนี้จะทำการปันหน่วยแทน ตัวอย่างกองทุนประกาศขายคืนหน่วยอัตโนมัติจำนวน 0.9090 หน่วย x NAV 11 บาท นักลงทุนจะได้รับเงินเต็มๆ 10 บาท(ไม่โดนหักภาษีเหมือน class D ) โดย NAV ของกองทุนจะยังคงเดิมที่ 11 บาท แต่หน่วยของเราจะลดลงจาก 10 หน่วยเหลือ 9.091 หน่วยนั่นเอง จำแนกตามการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน(Currency Hedge) กองทุนรวมไทยที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ(Foreign Investment Fund: FIF) มีรูปแบบย่อยดังนี้ -Feeder fund คือ FIF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวเลย โดยกองทุนต่างประเทศที่บริหารเงินนั้นจะเรียกกองทุนแม่หรือ Master fund แต่ละกองทุนจะถือหุ้นหลายสิบตัวเพื่อกระจายความเสี่ยง ในหนังสือชี้ชวนจะแจ้งไว้ว่ากองทุนแม่นำเงินไปลงทุนในหุ้นใดบ้างและสัดส่วนกี่ % เช่น ลงทุนในหุ้น Tesla 5%, Amazon 4%, Apple 4% เป็นต้น -Fund of funds คือ FIF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศมากกว่า 1 กองนั่นเอง เนื่องจาก FIF ซื้อขายด้วยเงินสกุลต่างประเทศดังนั้นตอนซื้อต้องแลกเงินบาทเป็นเงินสกุลนั้นๆ ก่อน ตอนขายจึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินด้วยเช่น -ตอนขายหน่วยถ้าเงินสกุลนั้นอ่อน(หรือเงินบาทแข็ง) เวลาแลกกลับมาเป็นเงินบาทเราอาจจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ -กลับกันตอนขายหน่วยถ้าเงินสกุลนั้นแข็ง(หรือเงินบาทอ่อน) เวลาแลกกลับมาเป็นเงินบาทเราอาจจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน FIF บางกองจึงมีการทำประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เราเห็นตัวอักษร H ในชื่อกองทุนนั่นเองโดยแบ่งการ Hedge เป็น 3 แบบคือ – ป้องกันความเสี่ยงเต็มที่ – ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน จะป้องกัน 70% 80% 90% ก็ว่ากันไป – ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน นักลงทุนที่มองว่าแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าจึงลงทุนในกองที่ไม่ H เพื่อหวังผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง ======================== TCS แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะคือ ระยะสั้น 1-4 ปี เหมาะกับกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยง 4 (ผลตอบแทนคาดหวัง 2-3% ต่อปี) ระยะกลาง 5-9 ปี เหมาะกับกองทุนผสม(ตราสารหนี้+หุ้น) ความเสี่ยง 5 (ผลตอบแทนคาดหวัง 4-5% ต่อปี) ระยะยาว 10 ปีขึ้นไป เหมาะกับกองทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือก ความเสี่ยงระดับ 6-8 (ผลตอบแทนคาดหวัง 6-8% ต่อปี) จะเห็นว่ากองทุนรวมความเสี่ยงยิ่งสูง ผลตอบแทนคาดหวังยิ่งสูง แต่อย่าลืมว่าความเสี่ยงต่อการขาดทุนก็สูงด้วยเช่นกัน สรุปได้ว่า “High risk, High return, High loss” สไตล์ TCS เป็นการลงทุนระยะยาว 20 ปี รับความเสี่ยงได้สูงจึงเหมาะกับกองทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือกเพื่อรับผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดนั่นเอง [Take home message] “If you don’t find a way to make money while you sleep, you will work until you die.” Warren Buffett “ถ้าคุณไม่หาวิธีทำเงินในขณะนอนหลับได้ คุณจะต้องทำงานไปจนวันตาย” #2DecadesInvestor #นักลงทุน2ทศวรรษPhotos from Thai-Cashless-Society สังคมไทยไร้เงินสด’s post

แชร์ให้เพื่อน!

New Year, New You รู้เรื่องกองทุนรวมใน 6 Stones (Episode 4)

ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ แอดมินขอรวบรวมความรู้ทั้งปีมาไว้ที่ 6 Infinity Stones ท่านใดเก็บอัญมณีครบทั้ง 6 เม็ดขอให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนนะครับ^^

==========================

พอร์ตการลงทุนจะโตเป็นเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแก้ว 3 ประการคือ
1. เงินลงทุน
2. ผลตอบแทน
3. ระยะเวลา

ท่านได้เรียนรู้เรื่องระยะเวลาและเงินทุนไปแล้ว ตอนนี้จะเป็นแก้วประการสดท้ายคือผลตอบแทนครับกับ Power Stone “High risk, High return, High loss”

ก่อนอื่นขอให้รู้จักความแตกต่างของ 3 สิ่งนี้ก่อน
การพนัน เช่นการซื้อหวย ถ้าถูกจะได้รางวัลแต่ถ้าไม่ถูกจะสูญเงินต้นไปเลยเช่น
การฝากเงิน เช่นบัญชีออมทรัพย์ เงินต้นจะเท่าเดิม เพิ่มเติมคือได้ดอกเบี้ย
การลงทุน(Investment) เงินต้นอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับสิ่งที่ลงทุนไปได้กำไรหรือขาดทุน

เงินออมที่เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน ฉุกเฉินแปลว่าสภาพคล่องต้องสูงคือถอนออกมาใช้ได้ทุกวัน แนะนำให้เก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ดิจิทัลดอกเบี้ยสูง 1.5% ต่อปีขึ้นไป(ตามโพยในรูป)

จากซีรีส์หนังสือ “พ่อรวยสอนลูก(Rich Dad Poor Dad)” จำแนกรายได้เป็น 4 ประเภทคือ ESBI ดังนี้ครับ

กลุ่ม Active income คือใช้แรงทำเงิน ได้แก่
E: Employee ลูกจ้าง
S: Self employee กิจการส่วนตัว freelance

กลุ่ม Passive income คือมีสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้โดยไม่ต้องออกแรงทำงาน ได้แก่
B: Business owner เจ้าของธุรกิจ เจ้าของลิขสิทธิ์
I: Investor นักลงทุน

การจะเป็นเจ้าของธุรกิจโดยตรงต้องมีเงินทุนเยอะ ครั้นจะซื้อหุ้นเองเป็นตัวๆ ไปจะต้องใช้เงินรวมถึงเวลาศึกษาไม่น้อยเช่นกัน ถ้าหุ้นตัวนั้นเจ๊งเราก็เจ๊งไปด้วย มนุษย์เงินเดือนตัวน้อยๆ อย่างเราจึงเหมาะกับการลงทุนในกองทุนรวม เพราะมีข้อดีคือใช้เงินลงทุนน้อยบาทเดียวก็ซื้อได้ ที่สำคัญซื้อกองเดียวแต่ได้ลงทุนในหุ้นหลักสิบถึงพันตัว ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดีคือถ้าหุ้นตัวหนึ่งขึ้นอีกตัวลงเฉลี่ยกันไปนั่นเอง

กองทุนรวม(mutual fund) เป็นการรวบรวมเงินลงทุนจากคนตัวเล็กหลายๆ คนจนเป็นเงินก้อนใหญ่แล้วนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับ 1 ไปจนถึงระดับ 8 (ตามรูป) โดยกองทุนหุ้น(equity fund) จัดอยู่ในความเสี่ยงระดับ 6-7 และสินทรัพย์ทางเลือกอยู่ในความเสี่ยงระดับ 8

หัวใจของการลงทุนในกองทุนรวมคือการสะสม “หน่วยลงทุน” ครับ ดังนั้นนักลงทุนจึงหวังจะได้จำนวนหน่วยมากที่สุดด้วยจำนวนเงินน้อยที่สุด!!! ตอนสิ้นสุดของวันทางกองทุนรวมจะคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนตามราคาตลาด ค่าใช้จ่ายรวม(Total expense ratio: TER) ที่แจ้งเป็น % ต่อปีนั้นทางกองทุนจะเอาจำนวนวันของปีมาหารเพื่อคิดเป็นค่าธรรมเนียมของ 1 วันแล้วนำไปหักออกจากมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนได้ออกมาเป็น “มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ” หรือ “Net Asset Value(NAV)” เมื่อนำ NAV หารด้วยจำนวนหน่วยของกองทุนจะออกมาเป็น “มูลค่าต่อหน่วยลงทุน” นั่นเอง ซึ่งกองทุนจะแจ้งราคานี้ใน 1-2 วันทำการถัดไป ดังนั้นเวลาซื้อกองทุนราคาต่อหน่วยที่ท่านเห็นคือราคาของเมื่อวันก่อน เราซื้อวันนี้จะได้ราคาของวันนี้ซึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นเท่าไหร่(ไม่ real time เหมือนการซื้อหุ้นเป็นรายตัว)

กองทุนรวมเป็นการสะสมหน่วยลงทุนและสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือต้นทุนราคาต่อหน่วย(NAV) ที่เราได้มา ซึ่งมีสูตรคำนวณดังนี้

NAV ที่ได้ = NAV + (NAV x ค่าธรรมเนียมขาเข้า)

กรณีเราซื้อกองทุนที่ไม่มีค่าธรรมเนียมขาเข้า วันที่ซื้อ NAV 12 บาท
NAV ที่ได้ = 12 + (12 x 0) = 12 บาท เท่ากับ NAV ของวันที่ซื้อคือเท่าทุนนั่นเอง
ซื้อวันไหนก็ใช้ NAV วันนั้น แต่หน่วยลงทุนจะเข้ามายังพอร์ตในอีก 2-3 วันทำการให้หลังแล้วแต่กองทุนครับ

กรณีเราซื้อกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมขาเข้า 1% วันที่ซื้อ NAV 12 บาท
NAV ที่ได้ = 12 + (12 x 1%) = 12 + 0.12 = 12.12 บาทซึ่งสูงกว่า NAV ของวันที่ซื้อ ดังนั้นวันแรกที่ซื้อมูลค่าจึงติดลบตามค่าธรรมเนียมขาเข้านั่นเอง เมื่อถือหน่วยลงทุนต่อไปเรื่อยๆ จน NAV ของกองทุนสูงขึ้นเกิน 12.12 บาท จากติดลบจะกลายเป็นบวกครับ
พูดถึงตอนซื้อแล้วขอพูดถึงตอนขายต่อเลยแล้วกัน เวลาขายจะเป็นสูตรดังนี้
NAV ที่ขาย = NAV – (NAV x ค่าธรรมเนียมขาออก)

กรณีเราขายกองทุนที่มีค่าธรรมเนียมขาออก 0.5% วันที่ขาย NAV 14 บาท
NAV ที่ขาย = 14 – (14 x 0.5%) = 14 – 0.07 = 13.93 บาท
กรณีขาย 100 หน่วยจะได้เงิน 100 x 13.93 = 1,393 บาท (ถ้ากองทุนไม่มีค่าธรรมเนียมขาออกจะได้เต็มๆ 100 x 14 = 1,400 บาทนั่นเอง)

กองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงินในธนาคารที่ถอนปุ๊บได้เงินปั๊บ เงินที่ขายได้จะเข้าบัญชีวันที่ T + ตัวเลข แล้วแต่กองทุนนั้นกำหนดเช่น กองทุนกำหนดไว้ T+4 หมายความว่าขายวันนี้(ได้ NAV วันนี้) ส่วนเงินจะเข้าบัญชีในอีก 4 วันทำการ(ไม่รวมวันหยุด)

ข้อควรรู้!!! NAV วันที่ทำรายการไม่มีใครรู้ล่วงหน้าเพราะต้องรอสิ้นสุดวันทางกองทุนจึงจะสรุป NAV ของวันนั้น(NAV ที่เราเห็นเป็น NAV ของวันก่อนหน้าครับ) กองทุนรวมตราสารทุนแต่ละกองถือหุ้น 30-50 ตัว เราคาดว่า NAV วันนี้จะลงแต่มันอาจจะขึ้นก็ได้ เราคาดว่า NAV วันนี้จะขึ้นแต่มันอาจจะลงก็ได้

=============================

กองทุนมีมากมาย เพื่อไม่ให้งงแนะนำจำแนกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

จำแนกตามพื้นที่
– ตลาดพัฒนาแล้ว(DM) 23 ประเทศได้แก่ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ค่อนข้างมั่นคง
– ตลาดเกิดใหม่(EM) 27 ประเทศได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น ค่อนข้างผันผวน
– ตลาดชายขอบ(FM) ได้แก่ เวียดนาม เป็นต้น ผันผวนมากกก
– ทั่วโลก(global) ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนทั่วโลกไม่จำกัดพื้นที่

จำแนกตามลักษณะสินทรัพย์
– กลุ่ม growth ได้แก่ sector เทคโนโลยี เป็นต้น
– กลุ่ม cyclical(หรือ value) ได้แก่ sector financial, consumer discretionary, material, industrial เป็นต้น
– กลุ่ม defensive ได้แก่ sector health care, infrastructure, consumer staples เป็นต้น
– กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
– กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น
– Thematic fund ได้แก่ กองทุนธีมนวัตกรรม, ธีมพลังงานสะอาด, ธีมฟินเทค เป็นต้น

จำแนกตามนโยบายการลงทุน
-กองทุนหุ้นแบบ Active คือผู้จัดการกองทุนเลือกซื้อหุ้นเองว่าจะซื้อตัวไหน/สัดส่วนเท่าไหร่ ส่วน-กองทุนหุ้นแบบ Passive คือดัชนีมีหุ้นกี่ตัว/สัดส่วนเท่าไหร่ กองทุนก็ซื้อหุ้นล้อไปตามนั้น
นั่นคือ Active fund ขึ้นอยู่กับ “ฝีมือของผู้จัดการกองทุน” เปลี่ยนผู้จัดการผลงานก็เปลี่ยนได้ กองทุนในไทยเปลี่ยนกองแม่ผลงานก็เปลี่ยนได้

จำแนกตามสิทธิพิเศษ
– กองทุนเปิดทั่วไป ซื้อขายได้ทุกวันทำการ
– กองทุนลดหย่อนภาษี SSF เงื่อนไขหลักคือถือยาว 10 ปี
– กองทุนลดหย่อนภาษี RMF เงื่อนไขหลักคือถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี

จำแนกตามคลาส
– กองทุนรวม class A คือสะสมมูลค่า(Accumulation) หมายความว่าถ้าผู้ลงทุนต้องการรับผลตอบแทนจะต้องทำรายการขายหน่วยลงทุนด้วยตัวเอง กำไรจากส่วนต่างราคา(capital gain) ไม่ต้องเสียตามภาษีเรียกว่าได้รับเต็ม 100% นั่นเอง
-กองทุนรวม class E เหมือน class A แต่ทำรายการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ข้อดีคือค่าธรรมเนียมต่ำมากกก
-กองทุนรวม class D คืออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนด้วยการจ่ายปันผล(Dividend) เป็นตัวเงินอัตโนมัติ เช่นถ้ากองทุนประกาศจ่ายปันผล 1 บาทต่อหน่วย ตัวอย่างเรามีอยู่ 10 หน่วยจะเป็น 1 บาท x 10 หน่วย = 10 บาท แต่เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ตามระเบียบ นั่นคือผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจริงเพียง 9 บาทนั่นเอง โดยยังคงมีหน่วย 10 หน่วยเท่าเดิม ส่วนกองทุน NAV จะลดลงจาก 11 เหลือ 10 บาทตามสัดส่วนเงินที่ปันผลออกไปครับ
-กองทุนรวม class R หรือกองทุนรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ(Auto Redemption) กล่าวคือแทนที่จะจ่ายปันผลเป็นเงินกองทุนประเภทนี้จะทำการปันหน่วยแทน ตัวอย่างกองทุนประกาศขายคืนหน่วยอัตโนมัติจำนวน 0.9090 หน่วย x NAV 11 บาท นักลงทุนจะได้รับเงินเต็มๆ 10 บาท(ไม่โดนหักภาษีเหมือน class D ) โดย NAV ของกองทุนจะยังคงเดิมที่ 11 บาท แต่หน่วยของเราจะลดลงจาก 10 หน่วยเหลือ 9.091 หน่วยนั่นเอง

จำแนกตามการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน(Currency Hedge)
กองทุนรวมไทยที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ(Foreign Investment Fund: FIF) มีรูปแบบย่อยดังนี้
-Feeder fund คือ FIF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวเลย โดยกองทุนต่างประเทศที่บริหารเงินนั้นจะเรียกกองทุนแม่หรือ Master fund แต่ละกองทุนจะถือหุ้นหลายสิบตัวเพื่อกระจายความเสี่ยง ในหนังสือชี้ชวนจะแจ้งไว้ว่ากองทุนแม่นำเงินไปลงทุนในหุ้นใดบ้างและสัดส่วนกี่ % เช่น ลงทุนในหุ้น Tesla 5%, Amazon 4%, Apple 4% เป็นต้น
-Fund of funds คือ FIF ที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศมากกว่า 1 กองนั่นเอง

เนื่องจาก FIF ซื้อขายด้วยเงินสกุลต่างประเทศดังนั้นตอนซื้อต้องแลกเงินบาทเป็นเงินสกุลนั้นๆ ก่อน ตอนขายจึงมีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินด้วยเช่น
-ตอนขายหน่วยถ้าเงินสกุลนั้นอ่อน(หรือเงินบาทแข็ง) เวลาแลกกลับมาเป็นเงินบาทเราอาจจะขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
-กลับกันตอนขายหน่วยถ้าเงินสกุลนั้นแข็ง(หรือเงินบาทอ่อน) เวลาแลกกลับมาเป็นเงินบาทเราอาจจะได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
FIF บางกองจึงมีการทำประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนที่เราเห็นตัวอักษร H ในชื่อกองทุนนั่นเองโดยแบ่งการ Hedge เป็น 3 แบบคือ
– ป้องกันความเสี่ยงเต็มที่
– ป้องกันความเสี่ยงบางส่วน จะป้องกัน 70% 80% 90% ก็ว่ากันไป
– ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
นักลงทุนที่มองว่าแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าจึงลงทุนในกองที่ไม่ H เพื่อหวังผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนนั่นเอง

========================

TCS แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะคือ

ระยะสั้น 1-4 ปี เหมาะกับกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยง 4 (ผลตอบแทนคาดหวัง 2-3% ต่อปี)
ระยะกลาง 5-9 ปี เหมาะกับกองทุนผสม(ตราสารหนี้+หุ้น) ความเสี่ยง 5 (ผลตอบแทนคาดหวัง 4-5% ต่อปี)
ระยะยาว 10 ปีขึ้นไป เหมาะกับกองทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือก ความเสี่ยงระดับ 6-8 (ผลตอบแทนคาดหวัง 6-8% ต่อปี)

จะเห็นว่ากองทุนรวมความเสี่ยงยิ่งสูง ผลตอบแทนคาดหวังยิ่งสูง แต่อย่าลืมว่าความเสี่ยงต่อการขาดทุนก็สูงด้วยเช่นกัน สรุปได้ว่า “High risk, High return, High loss”

สไตล์ TCS เป็นการลงทุนระยะยาว 20 ปี รับความเสี่ยงได้สูงจึงเหมาะกับกองทุนหุ้นและสินทรัพย์ทางเลือกเพื่อรับผลตอบแทนคาดหวังสูงสุดนั่นเอง

[Take home message]
“If you don’t find a way to make money while you sleep, you will work until you die.”
Warren Buffett

“ถ้าคุณไม่หาวิธีทำเงินในขณะนอนหลับได้ คุณจะต้องทำงานไปจนวันตาย”

#2DecadesInvestor
#นักลงทุน2ทศวรรษ

อ่านต่อบน Facebook

Tourmatoes มะเขือเทศทัวร์