โลกของการลงทุน ประสบการณ์การลงทุนครั้งแรก(First impression) สำคัญมาก เพราะมีผลต่อสไตล์การลงทุน 1️⃣ ท่านใดที่เข้ามาลงทุนครั้งแรกช่วงตลาดขาขึ้นอย่างตอนหลังโควิด จิ้มกองทุนอะไรก็ได้กำไร ยิ่งกองทุนหุ้นซิ่งยิ่งขึ้นแรงกำไรเยอะ ประสบการณ์ที่ดีทำให้ชอบกองทุนหุ้นซิ่งจนมีเต็มพอร์ตไปหมด 2️⃣ ตรงกันข้ามถ้าเข้ามาลงทุนครั้งแรกช่วงตลาดปรับฐานก็จะลงทุนระมัดระวังและไม่ชอบหุ้นซิ่งมากนัก 3️⃣ นักลงทุนบางคนเข้ามาเจอช่วงตลาดขาลงหนักจิ้มกองทุนไหนก็ขาดทุนหนัก สุดท้ายกลายเป็นเกลียด/กลัวกองทุนหุ้นจนออกจากตลาดไปไม่กลับมาอีกเลย ชาว TCS ประสบการณ์ครั้งแรกเป็นแบบไหนกันครับ? 1️⃣ 2️⃣ หรือ 3️⃣ #2DecadesInvestor #นักลงทุน2ทศวรรษ =============== ห้าขั้นตอนการลงทุน 1. วางแผนตั้งเป้าหมายก่อนเสมอ 2. จัดพอร์ตกระจายทั่วโลกแบบ CSR 3. คัดเลือกกองทุนที่ไม่ซิ่ง 4.ลงทุนระยะยาวแบบ DCA 5.ติดตามพอร์ต 6 เดือนครั้ง [How to] จากพันสู่ล้านผ่านกองทุนรวม(อย่างย่อ) https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1517550565290324 ===============[How to] จากพันสู่ล้านผ่านกองทุนรวม (อย่างย่อ) 1️⃣ ออมก่อนใช้ 20% คือได้เงินมา 100 บาท หักออมทันที 20 บาท 2️⃣ จัดโมเดลพอร์ต TCS คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ย 7.2% ต่อปี 3️⃣ ลงทุนแบบ DCA ทุกวันหวยออกเป็นเวลา 20 ปีจะมีเงิน 1,000 เท่า!!! ตัวอย่างเงินเดือน 10,000 บาท หักออม 20% = 2,000 บาท นำมา DCA พอร์ต TCS งวดละ 1,000 บาท 20 ปีพอร์ตจะโตเป็น 1,000 บาท x 1,000 เท่า = 1 ล้านบาทนั่นเอง^^ How to ฉบับเต็ม👉 https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1405024529876262 ==================== {ชาว TCS} “แอดคะฉบับเต็มยาวไปไม่อ่านค่ะ มีอย่างย่อไหมคะ?” การลงทุนที่ดีสุดคือ “การลงทุนในตัวเอง” ดังนั้นเมื่อคุณขอมา แอดมินก็จัดให้ครับ ความรู้อย่างย่อมี 5 ข้อตามนี้ 1️⃣ กองทุนรวมมีหลายสินทรัพย์ให้เลือก จัดความเสี่ยงเป็นระดับ 1-8 เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่เพราะใช้เงินลงทุนน้อยและแต่ละกองทุนถือหุ้นหลักสิบถึงพันตัวจึงไม่เสี่ยงสูงเหมือนการซื้อหุ้นเป็นรายตัว กองทุนหุ้นแบบ Active คือผู้จัดการกองทุนเลือกซื้อหุ้นเองว่าจะซื้อตัวไหน/สัดส่วนเท่าไหร่ ส่วนกองทุนหุ้นแบบ Passive คือดัชนีมีหุ้นกี่ตัว/สัดส่วนเท่าไหร่ กองทุนก็ซื้อหุ้นล้อไปตามนั้น นั่นคือ Active fund ขึ้นอยู่กับ “ฝีมือของผู้จัดการกองทุน” เปลี่ยนผู้จัดการผลงานก็เปลี่ยนได้ กองทุนในไทยเปลี่ยนกองแม่ผลงานก็เปลี่ยนได้ ด้วยเหตุนี้ TCS จึง “ไม่ใช้ Active fund เป็น core port” พอร์ตการลงทุนแบ่งความเสี่ยงตามสัดส่วนหุ้นในพอร์ตเป็น 3 ระดับคือ – พอร์ตเสี่ยงต่ำ(Conservative portfolio) มีกองทุนหุ้น 30% คาดหวังผลตอบแทน 3% ต่อปี – พอร์ตเสี่ยงกลาง(Moderate portfolio) มีกองทุนหุ้น 50% คาดหวังผลตอบแทน 5% ต่อปี – พอร์ตเสี่ยงสูง(Aggressive portfolio) มีกองทุนหุ้น 70% ขึ้นไป คาดหวังผลตอบแทน 7% ต่อปี 2️⃣ แผนการลงทุนและระยะเวลา “การวางแผนการลงทุนไม่ใช่การลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงที่สุด แต่เป็นการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ทำให้พอร์ตโตไปถึงเป้าหมายได้” แผนการลงทุนแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ – แบบสะสมมูลค่า คือสะสมเงินให้พอร์ตโตไปเรื่อยๆ ไม่นำเงินออกมาใช้จนกว่าจะถึงปลายทาง ควรเลือกกองทุนประเภทไม่ปันผล(accumulation) – แบบสร้างกระแสเงินสด คือต้องการให้พอร์ตผลิตเงินออกมาให้เรานำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควรเลือกกองทุนประเภทปันผล(dividend) หรือปันหน่วย(auto redemption) TCS แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะคือ ระยะสั้น👉 1-4 ปี เหมาะกับกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยง 4 (ผลตอบแทน 2-3% ต่อปี) ระยะกลาง👉 5-9 ปี เหมาะกับกองทุนผสม(ตราสารหนี้+หุ้น) ความเสี่ยง 5 (ผลตอบแทน 4-5% ต่อปี) ระยะยาว👉 10 ปีขึ้นไป เหมาะกับกองทุนหุ้น/สินทรัพย์ทางเลือก ความเสี่ยงระดับ 6-8 (ผลตอบแทน 6-8% ต่อปี) ระยะสั้นและระยะกลาง Active fund มีโอกาสชนะ Passive fund แต่ระยะยาว “Active fund ส่วนใหญ่จะแพ้ Passive fund” พอร์ต TCS เป็นการลงทุนระยะยาว เป้าหมายคือพอร์ตโตเป็น 1 ล้านในปีค.ศ. 2040(อีก 20 ปี) จึงเลือกกองทุนไม่ปันผลเพื่อให้ผลตอบแทนมันทบต้นไปเรื่อยๆ ที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 6-8% ต่อปี คำนวณแล้วต้องลงทุน 2,000 บาทต่อเดือนพอร์ตจึงจะโตเป็น 1 ล้านบาทใน 20 ปี 3️⃣ กองทุนมีมากมาย เพื่อไม่ให้งงแนะนำจำแนกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ 💁🏻‍♂️ จำแนกตามพื้นที่ – ตลาดพัฒนาแล้ว(DM) 23 ประเทศได้แก่ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ค่อนข้างมั่นคง – ตลาดเกิดใหม่(EM) 27 ประเทศได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น ค่อนข้างผันผวน – ตลาดชายขอบ(FM) ได้แก่ เวียดนาม เป็นต้น ผันผวนมากกก – ทั่วโลก(global) ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนทั่วโลกไม่จำกัดพื้นที่ 💁🏻‍♂️ จำแนกตามลักษณะ – กลุ่ม growth ได้แก่ sector เทคโนโลยี เป็นต้น – กลุ่ม cyclical(หรือ value) ได้แก่ sector financial, consumer discretionary, material, industrial เป็นต้น – กลุ่ม defensive ได้แก่ sector health care, infrastructure, consumer staples เป็นต้น – กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ – กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น – Thematic fund ได้แก่ กองทุนธีมนวัตกรรม, ธีมพลังงานสะอาด, ธีมฟินเทค เป็นต้น 💁🏻‍♂️ จำแนกตามสิทธิพิเศษ – กองทุนเปิดทั่วไป ซื้อขายได้ทุกวันทำการ – กองทุนลดหย่อนภาษี SSF เงื่อนไขหลักคือถือยาว 10 ปี – กองทุนลดหย่อนภาษี RMF เงื่อนไขหลักคือถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี 4️⃣ “อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน(Don’t put all your eggs in one basket)” เพราะถ้าตะกร้านั้นหล่นลงพื้นจะเสียหายหนักมาก ดังนั้นเงิน 2,000 บาท TCS นำมาจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงใน 4 สินทรัพย์ดังนี้ TCS Porfolio Model CSR 50-30-20 Core-Satellite-Reit Strategy ✅ กองทุนหุ้น 80% (1,600 บาท) ลงทุนใน Passive fund DM เป็นแกนหลัก(core) – Passive fund DM 50% (1,000 บาท) Active fund และ/หรือกองทุนหุ้น EM เป็นส่วนเสริม(satellite) – Active fund 30% (600 บาท) ✅ กองทุนอสังหาริมทรัพย์(Reit) 20% (400 บาท) ✅ กองทุนตราสารหนี้ 0% – ลงทุนระยะยาว 20 ปีไม่จำเป็นต้องมีตราสารหนี้ในพอร์ต ✅ สินค้าโภคภัณฑ์ 0% – ทองคำ/น้ำมัน/crypto 0% เพราะเป็นสินทรัพย์เก็งกำไรระยะสั้น ไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว คอนเซ็ปต์โมเดลพอร์ต TCS 💁🏻‍♂️ 1 พอร์ต 1 เป้าหมาย ลงทุนกระจายไม่กระจุก (แนะนำมี 4-6 กองทุนต่อพอร์ตก็พอ) 💁🏻‍♂️ 50% ของพอร์ตเป็นกองทุนหุ้น Passive DM เพื่อประกันว่าเงินครึ่งหนึ่งจะไม่แพ้ดัชนี 💁🏻‍♂️ 30% ของพอร์ตเป็นกองทุนหุ้น EM และ/หรือ Active Global เพื่อไม่พลาดโอกาสชนะดัชนี (Thematic fund มีได้ 5-10% ของพอร์ต) 💁🏻‍♂️ 20% ของพอร์ตเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ คำนวณผลตอบแทนพอร์ต TCS หุ้น 80% x 8% ต่อปี = 6.4% ต่อปี อสังหา 20% x 4% ต่อปี =0.8% ต่อปี รวมเป็น 7.2% ต่อปี ***สรุปโมเดลพอร์ต TCS เป็น Aggressive portfolio คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 7.2% ต่อปี*** (พอร์ตติดลบไม่เกิน -10%) สัดส่วนกองทุนหุ้นในพอร์ตตามระยะเวลาลงทุน – ลงทุน 5 ปี ควรมีกองทุนหุ้น 50% – ลงทุน 7 ปี ควรมีกองทุนหุ้น 70% – ลงทุน 10 ปี มีกองทุนหุ้น 100% ได้ครับ 5️⃣ สไตล์การลงทุน สไตล์การลงทุนแบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คือ – แบบ DCA คือลงทุนสม่ำเสมอโดยไม่สนใจราคา เน้นถือยาว(Time in market) ไม่ได้หวังผลตอบแทนสูงสุดแต่เป็นวิธีลงทุนที่ง่ายและได้ผลตอบแทนดีพอสมควร – แบบ Market timing คือจับจังหวะตลาด รอซื้อตอนราคาต่ำแล้วขายตอนราคาสูง คาดหวังว่าจะถูกทางเพื่อผลตอบแทนที่สูงที่สุด เหมาะกับคนที่มีความรู้และมีเวลาติดตามพอร์ต เพราะถ้าผิดทางต้องมีจุดตัดขาดทุน(stop loss) เวลาซื้อ/ขายกองทุนรวมจะได้ราคา NAV ของวันที่ทำรายการซึ่งกองทุนจะสรุปราคาตอนสิ้นวันนั้นและประกาศราคาใน 2-3 วันให้หลัง นั่นคือกองทุนรวมเป็นการซื้อ/ขายโดยที่ “ไม่รู้ราคาล่วงหน้า” ว่าจะได้เท่าไหร่? (ราคาที่เห็นเป็นราคาของวันก่อนหน้านะ) ตัวอย่างเช่นคุณเห็นกองทุนในพอร์ตกำไรอยู่ +5% เลยทำรายการขายไป ปรากฎว่าซวยวันนั้นกองทุนราคาร่วงหนัก -6% แทนที่จะได้กำไรกลายเป็นขายขาดทุนไป -1% เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามถ้าโชคดีวันนั้นกองทุนราคาขึ้น +2% คุณจะขายได้กำไร +7% นั่นเอง นอกจากนี้ TCS ยังมองว่าตลาดหุ้นเป็นสังคมศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ มีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมายทำให้ราคาขึ้นลงไร้ทิศทางเฉกเช่นการเดินสุ่ม(Random walk) ของคนเมา ทำให้ไม่สามารถใช้กราฟจับจังหวะได้ จึงเลือกสไตล์การลงทุนแบบ DCA ในความถี่เดือนละ 1-2 ครั้ง อย่างที่บอกตลาดหุ้นผันผวนขึ้นมีลงเป็นปกติ ดังนั้น “ไม่ควรดูพอร์ตทุกวันให้ใจหวั่นไหว” แนะนำว่า 6 เดือนค่อยประเมินพอร์ตทีนึงครับ เน้นย้ำอีกครั้งเราไม่ได้ลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนเป็น % ต่อปีเพียงอย่างเดียว แต่เรา “ลงทุนเพื่อซื้อเวลาให้กับตัวเอง” จงอย่าใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อหาเงิน แต่ให้เงินเป็นฝ่ายเดินมาหาเราบ้าง โดยปล่อยให้พอร์ตทำงานไป “ไม่ต้องเสียเวลาจับจังหวะตลาด!!!” เอาเวลาไปใส่ใจงานประจำทำให้ดีจะได้มีเงินมาเติมพอร์ตให้พอร์ตโตเร็วครับ^^ ======================== [อัปเดต 1 ม.ค. 2565] โพยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12% ต่อปีขึ้นไป https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1635041683541211 โพยดอกเบี้ยออมทรัพย์ดิจิทัล 1.5% ต่อปีขึ้นไป https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1552706081774772 โพยกองทุน SSF/RMF ปี 2021 https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1495423357503045 จักรวาลกองทุนรวม Passive Fund https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1586090531769660 ======================== TCS เป็น “House of Passive fund” มีหลักเกณฑ์การลงทุน 3 ข้อดังนี้ T = Ten years more (ลงทุนระยะยาว) C = Core-Sat. strategy (ลงทุน Passive fund เป็นแกนหลัก) S = Stability prefer (ลงทุนกองที่ SD น้อยกว่า 30%) สรุปเป็นปรัชญาของเพจว่า LISA: Long term International Stable Allocation ห้าขั้นตอนของการลงทุน 1. วางแผนตั้งเป้าหมายก่อนเสมอ 2. จัดพอร์ตกระจายสินทรัพย์แบบ CSR 3. คัดเลือกกองทุนที่ไม่ซิ่ง 4. ลงทุนระยะยาวแบบ DCA 5. ติดตามพอร์ต 6 เดือนครั้ง ***มือใหม่มักจะข้ามขั้นไปที่ข้อ 3 คือซื้อกองทุนโดยไม่จัดสัดส่วนพอร์ตก่อน*** ตัวอย่างพอร์ต TCS พอร์ตกองทุนทั่วไป TCS MillionBaht @Lottery Day https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1540222813023099 พอร์ตกองทุน RMF TCS RMF @Salary day https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1550787575299956 =================== 💁🏻‍♂️TCS ดูพอร์ต 6 เดือนครั้ง ดูอะไร? ในการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ในพอร์ตจะมีสินทรัพย์หลายอย่าง การประเมินพอร์ตเทียบกับ benchmark จึงยุ่งยาก ✅กองทุนตราสารหนี้ ก็ต้องไปดู benchmark ว่าตราสารหนี้ตอนนั้นผลตอบแทนเท่าไหร่ ✅กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องไปดู benchmark ว่าอสังหาริมทรัพย์ตอนนั้นผลตอบแทนเท่าไหร่ ✅กองทุนหุ้น ก็ต้องไปดู benchmark ว่าตอนนั้นดัชนีหุ้นผลตอบแทนเท่าไหร่ . . . จากนั้นก็คำนวณตามน้ำหนักสัดส่วนในพอร์ตออกมาเป็น benchmark รวมของพอร์ตอีกที แล้วนำผลงานพอร์ตมาเทียบว่าชนะหรือแพ้ benchmark รวมในตอนนั้น บอกตามตรงแอดมินทำไม่เป็นครับ ขี้เกียจทำด้วย😅😅😅 ขอประเมินพอร์ตแบบบ้านๆ เลยละกัน พอร์ตเรือธงของเราคือ TCS MillionBaht แอดมินดูผลงานพอร์ตเทียบกับกองทุนดัชนีหุ้นโลก ✅K-WORLDX ครับ 👉ถ้าผลงานรวมของพอร์ตแพ้ แปลว่าซื้อ ✅K-WORLDX กองเดียวจบเลย จะจัดพอร์ตให้เสียเวลาทำไม😂😂😂 หรือเชื่อมั่นในกองทุนที่เลือกก็อดทนถือต่อ หรือจะเปลี่ยนกองทุนในพอร์ตก็ว่ากันไป 👉ถ้าผลงานรวมของพอร์ตชนะ แปลว่าพอร์ตที่จัดไว้ใช้ได้ สรุปว่า อยากให้นักลงทุนทุกท่านเห็นความสำคัญของการดูพอร์ตทุก 6 เดือน ส่วนจะประเมินผลงานด้วยวิธีใดสุดแล้วแต่ท่าน #อย่าลืมประเมินพอร์ตนะ แต่อย่าขยันประเมินพอร์ตทุกวัน มันถี่ไปเน้อออ การดูพอร์ตทุก 6 เดือนนอกจากได้ประเมินผลงานแล้วยังได้ติดตามสัดส่วนกองทุนในพอร์ตด้วยครับ เพราะการลงทุนระยะยาวกองทุนบางกองจะบวกหรือลบจนทำให้สัดส่วนเบี้ยวไปจากที่จัดไว้ แก้ได้ด้วยการปรับสมดุลพอร์ต(Portfolio rebalancing) เกณฑ์ในการปรับสมดุลพอร์ตมี 2 เกณฑ์ได้แก่ 1️⃣ ปรับตามเวลา(Periodic rebalancing) ปรับตามเวลาที่กำหนดไว้เช่น ปรับทุก 6 เดือน เป็นต้น 2️⃣ ปรับตามความเบี้ยว(Threshold rebalancing) ปรับตามความเบี้ยวที่กำหนดไว้เช่น ปรับเมื่อมีกองใดกองหนึ่งเบี้ยวไป 5% เป็นต้น สำหรับ TCS มัดรวม 2 เกณฑ์ไว้ด้วยกันเลยคือจะประเมินพอร์ตทุก 6 เดือนถ้ามีกองใดกองหนึ่งเบี้ยวไป 5% จะปรับสมดุลพอร์ตครับ วิธีการปรับสมดุลพอร์ตมี 2 วิธีได้แก่ 1️⃣ ไม่ใช้เงินใหม่ คือจะขายกองทุนที่สัดส่วนเกินแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อกองทุนที่สัดส่วนลดลง 2️⃣ ใช้เงินใหม่ คือใส่เงินใหม่เข้าไปในกองทุนที่สัดส่วนลดลงเพื่อให้สัดส่วนกลับมาตามเดิมนั่นเอง โดย TCS วางแผนไว้ว่าจะใช้วิธีที่ 2 ในการปรับสมดุลพอร์ต แอดมินยังเป็นมือใหม่ในการลงทุน เรามาเรียนรู้การลงทุนของจริงไปด้วยกันครับ^^ #2DecadesInvestor #นักลงทุน2ทศวรรษ ========================= ***กองทุนรวม(mutual fund) ไม่ใช่การฝากเงินในธนาคาร ดังนั้นเงินต้นมีโอกาสลดลงได้*** “ผลตอบแทนในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน” #ร่วมแบ่งปันสิ่งดีๆที่TCS #สังคมไทยไร้เงินสด = New Normal

โลกของการลงทุน ประสบการณ์การลงทุนครั้งแรก(First impression) สำคัญมาก เพราะมีผลต่อสไตล์การลงทุน 1️⃣ ท่านใดที่เข้ามาลงทุนครั้งแรกช่วงตลาดขาขึ้นอย่างตอนหลังโควิด จิ้มกองทุนอะไรก็ได้กำไร ยิ่งกองทุนหุ้นซิ่งยิ่งขึ้นแรงกำไรเยอะ ประสบการณ์ที่ดีทำให้ชอบกองทุนหุ้นซิ่งจนมีเต็มพอร์ตไปหมด 2️⃣ ตรงกันข้ามถ้าเข้ามาลงทุนครั้งแรกช่วงตลาดปรับฐานก็จะลงทุนระมัดระวังและไม่ชอบหุ้นซิ่งมากนัก 3️⃣ นักลงทุนบางคนเข้ามาเจอช่วงตลาดขาลงหนักจิ้มกองทุนไหนก็ขาดทุนหนัก สุดท้ายกลายเป็นเกลียด/กลัวกองทุนหุ้นจนออกจากตลาดไปไม่กลับมาอีกเลย ชาว TCS ประสบการณ์ครั้งแรกเป็นแบบไหนกันครับ? 1️⃣ 2️⃣ หรือ 3️⃣ #2DecadesInvestor #นักลงทุน2ทศวรรษ =============== ห้าขั้นตอนการลงทุน 1. วางแผนตั้งเป้าหมายก่อนเสมอ 2. จัดพอร์ตกระจายทั่วโลกแบบ CSR 3. คัดเลือกกองทุนที่ไม่ซิ่ง 4.ลงทุนระยะยาวแบบ DCA 5.ติดตามพอร์ต 6 เดือนครั้ง [How to] จากพันสู่ล้านผ่านกองทุนรวม(อย่างย่อ) https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1517550565290324 ===============[How to] จากพันสู่ล้านผ่านกองทุนรวม (อย่างย่อ) 1️⃣ ออมก่อนใช้ 20% คือได้เงินมา 100 บาท หักออมทันที 20 บาท 2️⃣ จัดโมเดลพอร์ต TCS คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ย 7.2% ต่อปี 3️⃣ ลงทุนแบบ DCA ทุกวันหวยออกเป็นเวลา 20 ปีจะมีเงิน 1,000 เท่า!!! ตัวอย่างเงินเดือน 10,000 บาท หักออม 20% = 2,000 บาท นำมา DCA พอร์ต TCS งวดละ 1,000 บาท 20 ปีพอร์ตจะโตเป็น 1,000 บาท x 1,000 เท่า = 1 ล้านบาทนั่นเอง^^ How to ฉบับเต็ม👉 https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1405024529876262 ==================== {ชาว TCS} “แอดคะฉบับเต็มยาวไปไม่อ่านค่ะ มีอย่างย่อไหมคะ?” การลงทุนที่ดีสุดคือ “การลงทุนในตัวเอง” ดังนั้นเมื่อคุณขอมา แอดมินก็จัดให้ครับ ความรู้อย่างย่อมี 5 ข้อตามนี้ 1️⃣ กองทุนรวมมีหลายสินทรัพย์ให้เลือก จัดความเสี่ยงเป็นระดับ 1-8 เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่เพราะใช้เงินลงทุนน้อยและแต่ละกองทุนถือหุ้นหลักสิบถึงพันตัวจึงไม่เสี่ยงสูงเหมือนการซื้อหุ้นเป็นรายตัว กองทุนหุ้นแบบ Active คือผู้จัดการกองทุนเลือกซื้อหุ้นเองว่าจะซื้อตัวไหน/สัดส่วนเท่าไหร่ ส่วนกองทุนหุ้นแบบ Passive คือดัชนีมีหุ้นกี่ตัว/สัดส่วนเท่าไหร่ กองทุนก็ซื้อหุ้นล้อไปตามนั้น นั่นคือ Active fund ขึ้นอยู่กับ “ฝีมือของผู้จัดการกองทุน” เปลี่ยนผู้จัดการผลงานก็เปลี่ยนได้ กองทุนในไทยเปลี่ยนกองแม่ผลงานก็เปลี่ยนได้ ด้วยเหตุนี้ TCS จึง “ไม่ใช้ Active fund เป็น core port” พอร์ตการลงทุนแบ่งความเสี่ยงตามสัดส่วนหุ้นในพอร์ตเป็น 3 ระดับคือ – พอร์ตเสี่ยงต่ำ(Conservative portfolio) มีกองทุนหุ้น 30% คาดหวังผลตอบแทน 3% ต่อปี – พอร์ตเสี่ยงกลาง(Moderate portfolio) มีกองทุนหุ้น 50% คาดหวังผลตอบแทน 5% ต่อปี – พอร์ตเสี่ยงสูง(Aggressive portfolio) มีกองทุนหุ้น 70% ขึ้นไป คาดหวังผลตอบแทน 7% ต่อปี 2️⃣ แผนการลงทุนและระยะเวลา “การวางแผนการลงทุนไม่ใช่การลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงที่สุด แต่เป็นการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ทำให้พอร์ตโตไปถึงเป้าหมายได้” แผนการลงทุนแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ – แบบสะสมมูลค่า คือสะสมเงินให้พอร์ตโตไปเรื่อยๆ ไม่นำเงินออกมาใช้จนกว่าจะถึงปลายทาง ควรเลือกกองทุนประเภทไม่ปันผล(accumulation) – แบบสร้างกระแสเงินสด คือต้องการให้พอร์ตผลิตเงินออกมาให้เรานำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควรเลือกกองทุนประเภทปันผล(dividend) หรือปันหน่วย(auto redemption) TCS แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะคือ ระยะสั้น👉 1-4 ปี เหมาะกับกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยง 4 (ผลตอบแทน 2-3% ต่อปี) ระยะกลาง👉 5-9 ปี เหมาะกับกองทุนผสม(ตราสารหนี้+หุ้น) ความเสี่ยง 5 (ผลตอบแทน 4-5% ต่อปี) ระยะยาว👉 10 ปีขึ้นไป เหมาะกับกองทุนหุ้น/สินทรัพย์ทางเลือก ความเสี่ยงระดับ 6-8 (ผลตอบแทน 6-8% ต่อปี) ระยะสั้นและระยะกลาง Active fund มีโอกาสชนะ Passive fund แต่ระยะยาว “Active fund ส่วนใหญ่จะแพ้ Passive fund” พอร์ต TCS เป็นการลงทุนระยะยาว เป้าหมายคือพอร์ตโตเป็น 1 ล้านในปีค.ศ. 2040(อีก 20 ปี) จึงเลือกกองทุนไม่ปันผลเพื่อให้ผลตอบแทนมันทบต้นไปเรื่อยๆ ที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 6-8% ต่อปี คำนวณแล้วต้องลงทุน 2,000 บาทต่อเดือนพอร์ตจึงจะโตเป็น 1 ล้านบาทใน 20 ปี 3️⃣ กองทุนมีมากมาย เพื่อไม่ให้งงแนะนำจำแนกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้ 💁🏻‍♂️ จำแนกตามพื้นที่ – ตลาดพัฒนาแล้ว(DM) 23 ประเทศได้แก่ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ค่อนข้างมั่นคง – ตลาดเกิดใหม่(EM) 27 ประเทศได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น ค่อนข้างผันผวน – ตลาดชายขอบ(FM) ได้แก่ เวียดนาม เป็นต้น ผันผวนมากกก – ทั่วโลก(global) ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนทั่วโลกไม่จำกัดพื้นที่ 💁🏻‍♂️ จำแนกตามลักษณะ – กลุ่ม growth ได้แก่ sector เทคโนโลยี เป็นต้น – กลุ่ม cyclical(หรือ value) ได้แก่ sector financial, consumer discretionary, material, industrial เป็นต้น – กลุ่ม defensive ได้แก่ sector health care, infrastructure, consumer staples เป็นต้น – กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ – กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น – Thematic fund ได้แก่ กองทุนธีมนวัตกรรม, ธีมพลังงานสะอาด, ธีมฟินเทค เป็นต้น 💁🏻‍♂️ จำแนกตามสิทธิพิเศษ – กองทุนเปิดทั่วไป ซื้อขายได้ทุกวันทำการ – กองทุนลดหย่อนภาษี SSF เงื่อนไขหลักคือถือยาว 10 ปี – กองทุนลดหย่อนภาษี RMF เงื่อนไขหลักคือถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี 4️⃣ “อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน(Don’t put all your eggs in one basket)” เพราะถ้าตะกร้านั้นหล่นลงพื้นจะเสียหายหนักมาก ดังนั้นเงิน 2,000 บาท TCS นำมาจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงใน 4 สินทรัพย์ดังนี้ TCS Porfolio Model CSR 50-30-20 Core-Satellite-Reit Strategy ✅ กองทุนหุ้น 80% (1,600 บาท) ลงทุนใน Passive fund DM เป็นแกนหลัก(core) – Passive fund DM 50% (1,000 บาท) Active fund และ/หรือกองทุนหุ้น EM เป็นส่วนเสริม(satellite) – Active fund 30% (600 บาท) ✅ กองทุนอสังหาริมทรัพย์(Reit) 20% (400 บาท) ✅ กองทุนตราสารหนี้ 0% – ลงทุนระยะยาว 20 ปีไม่จำเป็นต้องมีตราสารหนี้ในพอร์ต ✅ สินค้าโภคภัณฑ์ 0% – ทองคำ/น้ำมัน/crypto 0% เพราะเป็นสินทรัพย์เก็งกำไรระยะสั้น ไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว คอนเซ็ปต์โมเดลพอร์ต TCS 💁🏻‍♂️ 1 พอร์ต 1 เป้าหมาย ลงทุนกระจายไม่กระจุก (แนะนำมี 4-6 กองทุนต่อพอร์ตก็พอ) 💁🏻‍♂️ 50% ของพอร์ตเป็นกองทุนหุ้น Passive DM เพื่อประกันว่าเงินครึ่งหนึ่งจะไม่แพ้ดัชนี 💁🏻‍♂️ 30% ของพอร์ตเป็นกองทุนหุ้น EM และ/หรือ Active Global เพื่อไม่พลาดโอกาสชนะดัชนี (Thematic fund มีได้ 5-10% ของพอร์ต) 💁🏻‍♂️ 20% ของพอร์ตเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ คำนวณผลตอบแทนพอร์ต TCS หุ้น 80% x 8% ต่อปี = 6.4% ต่อปี อสังหา 20% x 4% ต่อปี =0.8% ต่อปี รวมเป็น 7.2% ต่อปี ***สรุปโมเดลพอร์ต TCS เป็น Aggressive portfolio คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 7.2% ต่อปี*** (พอร์ตติดลบไม่เกิน -10%) สัดส่วนกองทุนหุ้นในพอร์ตตามระยะเวลาลงทุน – ลงทุน 5 ปี ควรมีกองทุนหุ้น 50% – ลงทุน 7 ปี ควรมีกองทุนหุ้น 70% – ลงทุน 10 ปี มีกองทุนหุ้น 100% ได้ครับ 5️⃣ สไตล์การลงทุน สไตล์การลงทุนแบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คือ – แบบ DCA คือลงทุนสม่ำเสมอโดยไม่สนใจราคา เน้นถือยาว(Time in market) ไม่ได้หวังผลตอบแทนสูงสุดแต่เป็นวิธีลงทุนที่ง่ายและได้ผลตอบแทนดีพอสมควร – แบบ Market timing คือจับจังหวะตลาด รอซื้อตอนราคาต่ำแล้วขายตอนราคาสูง คาดหวังว่าจะถูกทางเพื่อผลตอบแทนที่สูงที่สุด เหมาะกับคนที่มีความรู้และมีเวลาติดตามพอร์ต เพราะถ้าผิดทางต้องมีจุดตัดขาดทุน(stop loss) เวลาซื้อ/ขายกองทุนรวมจะได้ราคา NAV ของวันที่ทำรายการซึ่งกองทุนจะสรุปราคาตอนสิ้นวันนั้นและประกาศราคาใน 2-3 วันให้หลัง นั่นคือกองทุนรวมเป็นการซื้อ/ขายโดยที่ “ไม่รู้ราคาล่วงหน้า” ว่าจะได้เท่าไหร่? (ราคาที่เห็นเป็นราคาของวันก่อนหน้านะ) ตัวอย่างเช่นคุณเห็นกองทุนในพอร์ตกำไรอยู่ +5% เลยทำรายการขายไป ปรากฎว่าซวยวันนั้นกองทุนราคาร่วงหนัก -6% แทนที่จะได้กำไรกลายเป็นขายขาดทุนไป -1% เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามถ้าโชคดีวันนั้นกองทุนราคาขึ้น +2% คุณจะขายได้กำไร +7% นั่นเอง นอกจากนี้ TCS ยังมองว่าตลาดหุ้นเป็นสังคมศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ มีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมายทำให้ราคาขึ้นลงไร้ทิศทางเฉกเช่นการเดินสุ่ม(Random walk) ของคนเมา ทำให้ไม่สามารถใช้กราฟจับจังหวะได้ จึงเลือกสไตล์การลงทุนแบบ DCA ในความถี่เดือนละ 1-2 ครั้ง อย่างที่บอกตลาดหุ้นผันผวนขึ้นมีลงเป็นปกติ ดังนั้น “ไม่ควรดูพอร์ตทุกวันให้ใจหวั่นไหว” แนะนำว่า 6 เดือนค่อยประเมินพอร์ตทีนึงครับ เน้นย้ำอีกครั้งเราไม่ได้ลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนเป็น % ต่อปีเพียงอย่างเดียว แต่เรา “ลงทุนเพื่อซื้อเวลาให้กับตัวเอง” จงอย่าใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อหาเงิน แต่ให้เงินเป็นฝ่ายเดินมาหาเราบ้าง โดยปล่อยให้พอร์ตทำงานไป “ไม่ต้องเสียเวลาจับจังหวะตลาด!!!” เอาเวลาไปใส่ใจงานประจำทำให้ดีจะได้มีเงินมาเติมพอร์ตให้พอร์ตโตเร็วครับ^^ ======================== [อัปเดต 1 ม.ค. 2565] โพยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12% ต่อปีขึ้นไป https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1635041683541211 โพยดอกเบี้ยออมทรัพย์ดิจิทัล 1.5% ต่อปีขึ้นไป https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1552706081774772 โพยกองทุน SSF/RMF ปี 2021 https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1495423357503045 จักรวาลกองทุนรวม Passive Fund https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1586090531769660 ======================== TCS เป็น “House of Passive fund” มีหลักเกณฑ์การลงทุน 3 ข้อดังนี้ T = Ten years more (ลงทุนระยะยาว) C = Core-Sat. strategy (ลงทุน Passive fund เป็นแกนหลัก) S = Stability prefer (ลงทุนกองที่ SD น้อยกว่า 30%) สรุปเป็นปรัชญาของเพจว่า LISA: Long term International Stable Allocation ห้าขั้นตอนของการลงทุน 1. วางแผนตั้งเป้าหมายก่อนเสมอ 2. จัดพอร์ตกระจายสินทรัพย์แบบ CSR 3. คัดเลือกกองทุนที่ไม่ซิ่ง 4. ลงทุนระยะยาวแบบ DCA 5. ติดตามพอร์ต 6 เดือนครั้ง ***มือใหม่มักจะข้ามขั้นไปที่ข้อ 3 คือซื้อกองทุนโดยไม่จัดสัดส่วนพอร์ตก่อน*** ตัวอย่างพอร์ต TCS พอร์ตกองทุนทั่วไป TCS MillionBaht @Lottery Day https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1540222813023099 พอร์ตกองทุน RMF TCS RMF @Salary day https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1550787575299956 =================== 💁🏻‍♂️TCS ดูพอร์ต 6 เดือนครั้ง ดูอะไร? ในการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ในพอร์ตจะมีสินทรัพย์หลายอย่าง การประเมินพอร์ตเทียบกับ benchmark จึงยุ่งยาก ✅กองทุนตราสารหนี้ ก็ต้องไปดู benchmark ว่าตราสารหนี้ตอนนั้นผลตอบแทนเท่าไหร่ ✅กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องไปดู benchmark ว่าอสังหาริมทรัพย์ตอนนั้นผลตอบแทนเท่าไหร่ ✅กองทุนหุ้น ก็ต้องไปดู benchmark ว่าตอนนั้นดัชนีหุ้นผลตอบแทนเท่าไหร่ . . . จากนั้นก็คำนวณตามน้ำหนักสัดส่วนในพอร์ตออกมาเป็น benchmark รวมของพอร์ตอีกที แล้วนำผลงานพอร์ตมาเทียบว่าชนะหรือแพ้ benchmark รวมในตอนนั้น บอกตามตรงแอดมินทำไม่เป็นครับ ขี้เกียจทำด้วย😅😅😅 ขอประเมินพอร์ตแบบบ้านๆ เลยละกัน พอร์ตเรือธงของเราคือ TCS MillionBaht แอดมินดูผลงานพอร์ตเทียบกับกองทุนดัชนีหุ้นโลก ✅K-WORLDX ครับ 👉ถ้าผลงานรวมของพอร์ตแพ้ แปลว่าซื้อ ✅K-WORLDX กองเดียวจบเลย จะจัดพอร์ตให้เสียเวลาทำไม😂😂😂 หรือเชื่อมั่นในกองทุนที่เลือกก็อดทนถือต่อ หรือจะเปลี่ยนกองทุนในพอร์ตก็ว่ากันไป 👉ถ้าผลงานรวมของพอร์ตชนะ แปลว่าพอร์ตที่จัดไว้ใช้ได้ สรุปว่า อยากให้นักลงทุนทุกท่านเห็นความสำคัญของการดูพอร์ตทุก 6 เดือน ส่วนจะประเมินผลงานด้วยวิธีใดสุดแล้วแต่ท่าน #อย่าลืมประเมินพอร์ตนะ แต่อย่าขยันประเมินพอร์ตทุกวัน มันถี่ไปเน้อออ การดูพอร์ตทุก 6 เดือนนอกจากได้ประเมินผลงานแล้วยังได้ติดตามสัดส่วนกองทุนในพอร์ตด้วยครับ เพราะการลงทุนระยะยาวกองทุนบางกองจะบวกหรือลบจนทำให้สัดส่วนเบี้ยวไปจากที่จัดไว้ แก้ได้ด้วยการปรับสมดุลพอร์ต(Portfolio rebalancing) เกณฑ์ในการปรับสมดุลพอร์ตมี 2 เกณฑ์ได้แก่ 1️⃣ ปรับตามเวลา(Periodic rebalancing) ปรับตามเวลาที่กำหนดไว้เช่น ปรับทุก 6 เดือน เป็นต้น 2️⃣ ปรับตามความเบี้ยว(Threshold rebalancing) ปรับตามความเบี้ยวที่กำหนดไว้เช่น ปรับเมื่อมีกองใดกองหนึ่งเบี้ยวไป 5% เป็นต้น สำหรับ TCS มัดรวม 2 เกณฑ์ไว้ด้วยกันเลยคือจะประเมินพอร์ตทุก 6 เดือนถ้ามีกองใดกองหนึ่งเบี้ยวไป 5% จะปรับสมดุลพอร์ตครับ วิธีการปรับสมดุลพอร์ตมี 2 วิธีได้แก่ 1️⃣ ไม่ใช้เงินใหม่ คือจะขายกองทุนที่สัดส่วนเกินแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อกองทุนที่สัดส่วนลดลง 2️⃣ ใช้เงินใหม่ คือใส่เงินใหม่เข้าไปในกองทุนที่สัดส่วนลดลงเพื่อให้สัดส่วนกลับมาตามเดิมนั่นเอง โดย TCS วางแผนไว้ว่าจะใช้วิธีที่ 2 ในการปรับสมดุลพอร์ต แอดมินยังเป็นมือใหม่ในการลงทุน เรามาเรียนรู้การลงทุนของจริงไปด้วยกันครับ^^ #2DecadesInvestor #นักลงทุน2ทศวรรษ ========================= ***กองทุนรวม(mutual fund) ไม่ใช่การฝากเงินในธนาคาร ดังนั้นเงินต้นมีโอกาสลดลงได้*** “ผลตอบแทนในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน” #ร่วมแบ่งปันสิ่งดีๆที่TCS #สังคมไทยไร้เงินสด = New Normal

แชร์ให้เพื่อน!

โลกของการลงทุน ประสบการณ์การลงทุนครั้งแรก(First impression) สำคัญมาก เพราะมีผลต่อสไตล์การลงทุน

1️⃣ ท่านใดที่เข้ามาลงทุนครั้งแรกช่วงตลาดขาขึ้นอย่างตอนหลังโควิด จิ้มกองทุนอะไรก็ได้กำไร ยิ่งกองทุนหุ้นซิ่งยิ่งขึ้นแรงกำไรเยอะ ประสบการณ์ที่ดีทำให้ชอบกองทุนหุ้นซิ่งจนมีเต็มพอร์ตไปหมด

2️⃣ ตรงกันข้ามถ้าเข้ามาลงทุนครั้งแรกช่วงตลาดปรับฐานก็จะลงทุนระมัดระวังและไม่ชอบหุ้นซิ่งมากนัก

3️⃣ นักลงทุนบางคนเข้ามาเจอช่วงตลาดขาลงหนักจิ้มกองทุนไหนก็ขาดทุนหนัก สุดท้ายกลายเป็นเกลียด/กลัวกองทุนหุ้นจนออกจากตลาดไปไม่กลับมาอีกเลย

ชาว TCS ประสบการณ์ครั้งแรกเป็นแบบไหนกันครับ? 1️⃣ 2️⃣ หรือ 3️⃣

#2DecadesInvestor
#นักลงทุน2ทศวรรษ
===============
ห้าขั้นตอนการลงทุน
1. วางแผนตั้งเป้าหมายก่อนเสมอ
2. จัดพอร์ตกระจายทั่วโลกแบบ CSR
3. คัดเลือกกองทุนที่ไม่ซิ่ง
4.ลงทุนระยะยาวแบบ DCA
5.ติดตามพอร์ต 6 เดือนครั้ง

[How to] จากพันสู่ล้านผ่านกองทุนรวม(อย่างย่อ) https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1517550565290324
===============

269889884_1631971387181574_6810726150855

[How to] จากพันสู่ล้านผ่านกองทุนรวม (อย่างย่อ)

1️⃣ ออมก่อนใช้ 20% คือได้เงินมา 100 บาท หักออมทันที 20 บาท
2️⃣ จัดโมเดลพอร์ต TCS คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ย 7.2% ต่อปี
3️⃣ ลงทุนแบบ DCA ทุกวันหวยออกเป็นเวลา 20 ปีจะมีเงิน 1,000 เท่า!!!

ตัวอย่างเงินเดือน 10,000 บาท หักออม 20% = 2,000 บาท นำมา DCA พอร์ต TCS งวดละ 1,000 บาท 20 ปีพอร์ตจะโตเป็น 1,000 บาท x 1,000 เท่า = 1 ล้านบาทนั่นเอง^^

How to ฉบับเต็ม👉 https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1405024529876262

====================

{ชาว TCS} “แอดคะฉบับเต็มยาวไปไม่อ่านค่ะ มีอย่างย่อไหมคะ?”

การลงทุนที่ดีสุดคือ “การลงทุนในตัวเอง” ดังนั้นเมื่อคุณขอมา แอดมินก็จัดให้ครับ ความรู้อย่างย่อมี 5 ข้อตามนี้

1️⃣ กองทุนรวมมีหลายสินทรัพย์ให้เลือก จัดความเสี่ยงเป็นระดับ 1-8 เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่เพราะใช้เงินลงทุนน้อยและแต่ละกองทุนถือหุ้นหลักสิบถึงพันตัวจึงไม่เสี่ยงสูงเหมือนการซื้อหุ้นเป็นรายตัว

กองทุนหุ้นแบบ Active คือผู้จัดการกองทุนเลือกซื้อหุ้นเองว่าจะซื้อตัวไหน/สัดส่วนเท่าไหร่ ส่วนกองทุนหุ้นแบบ Passive คือดัชนีมีหุ้นกี่ตัว/สัดส่วนเท่าไหร่ กองทุนก็ซื้อหุ้นล้อไปตามนั้น

นั่นคือ Active fund ขึ้นอยู่กับ “ฝีมือของผู้จัดการกองทุน” เปลี่ยนผู้จัดการผลงานก็เปลี่ยนได้ กองทุนในไทยเปลี่ยนกองแม่ผลงานก็เปลี่ยนได้ ด้วยเหตุนี้ TCS จึง “ไม่ใช้ Active fund เป็น core port”

พอร์ตการลงทุนแบ่งความเสี่ยงตามสัดส่วนหุ้นในพอร์ตเป็น 3 ระดับคือ
– พอร์ตเสี่ยงต่ำ(Conservative portfolio) มีกองทุนหุ้น 30% คาดหวังผลตอบแทน 3% ต่อปี
– พอร์ตเสี่ยงกลาง(Moderate portfolio) มีกองทุนหุ้น 50% คาดหวังผลตอบแทน 5% ต่อปี
– พอร์ตเสี่ยงสูง(Aggressive portfolio) มีกองทุนหุ้น 70% ขึ้นไป คาดหวังผลตอบแทน 7% ต่อปี

2️⃣ แผนการลงทุนและระยะเวลา

“การวางแผนการลงทุนไม่ใช่การลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงที่สุด แต่เป็นการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่ทำให้พอร์ตโตไปถึงเป้าหมายได้”

แผนการลงทุนแบ่งออกเป็น 2 แบบหลักๆ คือ

– แบบสะสมมูลค่า คือสะสมเงินให้พอร์ตโตไปเรื่อยๆ ไม่นำเงินออกมาใช้จนกว่าจะถึงปลายทาง ควรเลือกกองทุนประเภทไม่ปันผล(accumulation)
– แบบสร้างกระแสเงินสด คือต้องการให้พอร์ตผลิตเงินออกมาให้เรานำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควรเลือกกองทุนประเภทปันผล(dividend) หรือปันหน่วย(auto redemption)

TCS แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะคือ

ระยะสั้น👉 1-4 ปี เหมาะกับกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยง 4 (ผลตอบแทน 2-3% ต่อปี)

ระยะกลาง👉 5-9 ปี เหมาะกับกองทุนผสม(ตราสารหนี้+หุ้น) ความเสี่ยง 5 (ผลตอบแทน 4-5% ต่อปี)

ระยะยาว👉 10 ปีขึ้นไป เหมาะกับกองทุนหุ้น/สินทรัพย์ทางเลือก ความเสี่ยงระดับ 6-8 (ผลตอบแทน 6-8% ต่อปี)

ระยะสั้นและระยะกลาง Active fund มีโอกาสชนะ Passive fund แต่ระยะยาว “Active fund ส่วนใหญ่จะแพ้ Passive fund”

พอร์ต TCS เป็นการลงทุนระยะยาว เป้าหมายคือพอร์ตโตเป็น 1 ล้านในปีค.ศ. 2040(อีก 20 ปี) จึงเลือกกองทุนไม่ปันผลเพื่อให้ผลตอบแทนมันทบต้นไปเรื่อยๆ ที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 6-8% ต่อปี คำนวณแล้วต้องลงทุน 2,000 บาทต่อเดือนพอร์ตจึงจะโตเป็น 1 ล้านบาทใน 20 ปี

3️⃣ กองทุนมีมากมาย เพื่อไม่ให้งงแนะนำจำแนกเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

💁🏻‍♂️ จำแนกตามพื้นที่
– ตลาดพัฒนาแล้ว(DM) 23 ประเทศได้แก่ อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ค่อนข้างมั่นคง
– ตลาดเกิดใหม่(EM) 27 ประเทศได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไทย เป็นต้น ค่อนข้างผันผวน
– ตลาดชายขอบ(FM) ได้แก่ เวียดนาม เป็นต้น ผันผวนมากกก
– ทั่วโลก(global) ได้แก่ กองทุนที่ลงทุนทั่วโลกไม่จำกัดพื้นที่

💁🏻‍♂️ จำแนกตามลักษณะ
– กลุ่ม growth ได้แก่ sector เทคโนโลยี เป็นต้น
– กลุ่ม cyclical(หรือ value) ได้แก่ sector financial, consumer discretionary, material, industrial เป็นต้น
– กลุ่ม defensive ได้แก่ sector health care, infrastructure, consumer staples เป็นต้น
– กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
– กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ได้แก่ ทองคำ น้ำมัน เป็นต้น
– Thematic fund ได้แก่ กองทุนธีมนวัตกรรม, ธีมพลังงานสะอาด, ธีมฟินเทค เป็นต้น

💁🏻‍♂️ จำแนกตามสิทธิพิเศษ
– กองทุนเปิดทั่วไป ซื้อขายได้ทุกวันทำการ
– กองทุนลดหย่อนภาษี SSF เงื่อนไขหลักคือถือยาว 10 ปี
– กองทุนลดหย่อนภาษี RMF เงื่อนไขหลักคือถือยาวจนถึงอายุ 55 ปี

4️⃣ “อย่าใส่ไข่ทุกฟองไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน(Don’t put all your eggs in one basket)” เพราะถ้าตะกร้านั้นหล่นลงพื้นจะเสียหายหนักมาก ดังนั้นเงิน 2,000 บาท TCS นำมาจัดพอร์ตกระจายความเสี่ยงใน 4 สินทรัพย์ดังนี้

TCS Porfolio Model CSR 50-30-20

Core-Satellite-Reit Strategy

✅ กองทุนหุ้น 80% (1,600 บาท) ลงทุนใน

Passive fund DM เป็นแกนหลัก(core)
– Passive fund DM 50% (1,000 บาท)

Active fund และ/หรือกองทุนหุ้น EM เป็นส่วนเสริม(satellite)
– Active fund 30% (600 บาท)

✅ กองทุนอสังหาริมทรัพย์(Reit) 20% (400 บาท)

✅ กองทุนตราสารหนี้ 0%
– ลงทุนระยะยาว 20 ปีไม่จำเป็นต้องมีตราสารหนี้ในพอร์ต

✅ สินค้าโภคภัณฑ์ 0%
– ทองคำ/น้ำมัน/crypto 0% เพราะเป็นสินทรัพย์เก็งกำไรระยะสั้น ไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว

คอนเซ็ปต์โมเดลพอร์ต TCS
💁🏻‍♂️ 1 พอร์ต 1 เป้าหมาย ลงทุนกระจายไม่กระจุก (แนะนำมี 4-6 กองทุนต่อพอร์ตก็พอ)
💁🏻‍♂️ 50% ของพอร์ตเป็นกองทุนหุ้น Passive DM เพื่อประกันว่าเงินครึ่งหนึ่งจะไม่แพ้ดัชนี
💁🏻‍♂️ 30% ของพอร์ตเป็นกองทุนหุ้น EM และ/หรือ Active Global เพื่อไม่พลาดโอกาสชนะดัชนี (Thematic fund มีได้ 5-10% ของพอร์ต)
💁🏻‍♂️ 20% ของพอร์ตเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์

คำนวณผลตอบแทนพอร์ต TCS
หุ้น 80% x 8% ต่อปี = 6.4% ต่อปี
อสังหา 20% x 4% ต่อปี =0.8% ต่อปี
รวมเป็น 7.2% ต่อปี

***สรุปโมเดลพอร์ต TCS เป็น Aggressive portfolio คาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 7.2% ต่อปี*** (พอร์ตติดลบไม่เกิน -10%)

สัดส่วนกองทุนหุ้นในพอร์ตตามระยะเวลาลงทุน
– ลงทุน 5 ปี ควรมีกองทุนหุ้น 50%
– ลงทุน 7 ปี ควรมีกองทุนหุ้น 70%
– ลงทุน 10 ปี มีกองทุนหุ้น 100% ได้ครับ

5️⃣ สไตล์การลงทุน

สไตล์การลงทุนแบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คือ

– แบบ DCA คือลงทุนสม่ำเสมอโดยไม่สนใจราคา เน้นถือยาว(Time in market) ไม่ได้หวังผลตอบแทนสูงสุดแต่เป็นวิธีลงทุนที่ง่ายและได้ผลตอบแทนดีพอสมควร
– แบบ Market timing คือจับจังหวะตลาด รอซื้อตอนราคาต่ำแล้วขายตอนราคาสูง คาดหวังว่าจะถูกทางเพื่อผลตอบแทนที่สูงที่สุด เหมาะกับคนที่มีความรู้และมีเวลาติดตามพอร์ต เพราะถ้าผิดทางต้องมีจุดตัดขาดทุน(stop loss)

เวลาซื้อ/ขายกองทุนรวมจะได้ราคา NAV ของวันที่ทำรายการซึ่งกองทุนจะสรุปราคาตอนสิ้นวันนั้นและประกาศราคาใน 2-3 วันให้หลัง นั่นคือกองทุนรวมเป็นการซื้อ/ขายโดยที่ “ไม่รู้ราคาล่วงหน้า” ว่าจะได้เท่าไหร่? (ราคาที่เห็นเป็นราคาของวันก่อนหน้านะ)

ตัวอย่างเช่นคุณเห็นกองทุนในพอร์ตกำไรอยู่ +5% เลยทำรายการขายไป ปรากฎว่าซวยวันนั้นกองทุนราคาร่วงหนัก -6% แทนที่จะได้กำไรกลายเป็นขายขาดทุนไป -1% เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามถ้าโชคดีวันนั้นกองทุนราคาขึ้น +2% คุณจะขายได้กำไร +7% นั่นเอง

นอกจากนี้ TCS ยังมองว่าตลาดหุ้นเป็นสังคมศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์ มีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมายทำให้ราคาขึ้นลงไร้ทิศทางเฉกเช่นการเดินสุ่ม(Random walk) ของคนเมา ทำให้ไม่สามารถใช้กราฟจับจังหวะได้ จึงเลือกสไตล์การลงทุนแบบ DCA ในความถี่เดือนละ 1-2 ครั้ง

อย่างที่บอกตลาดหุ้นผันผวนขึ้นมีลงเป็นปกติ ดังนั้น “ไม่ควรดูพอร์ตทุกวันให้ใจหวั่นไหว” แนะนำว่า 6 เดือนค่อยประเมินพอร์ตทีนึงครับ

เน้นย้ำอีกครั้งเราไม่ได้ลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนเป็น % ต่อปีเพียงอย่างเดียว แต่เรา “ลงทุนเพื่อซื้อเวลาให้กับตัวเอง” จงอย่าใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อหาเงิน แต่ให้เงินเป็นฝ่ายเดินมาหาเราบ้าง โดยปล่อยให้พอร์ตทำงานไป “ไม่ต้องเสียเวลาจับจังหวะตลาด!!!” เอาเวลาไปใส่ใจงานประจำทำให้ดีจะได้มีเงินมาเติมพอร์ตให้พอร์ตโตเร็วครับ^^

========================

[อัปเดต 1 ม.ค. 2565]

โพยกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12% ต่อปีขึ้นไป
https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1635041683541211

โพยดอกเบี้ยออมทรัพย์ดิจิทัล 1.5% ต่อปีขึ้นไป
https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1552706081774772

โพยกองทุน SSF/RMF ปี 2021
https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1495423357503045

จักรวาลกองทุนรวม Passive Fund
https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1586090531769660

========================

TCS เป็น “House of Passive fund” มีหลักเกณฑ์การลงทุน 3 ข้อดังนี้

T = Ten years more
(ลงทุนระยะยาว)
C = Core-Sat. strategy
(ลงทุน Passive fund เป็นแกนหลัก)
S = Stability prefer
(ลงทุนกองที่ SD น้อยกว่า 30%)

สรุปเป็นปรัชญาของเพจว่า LISA: Long term International Stable Allocation

ห้าขั้นตอนของการลงทุน
1. วางแผนตั้งเป้าหมายก่อนเสมอ
2. จัดพอร์ตกระจายสินทรัพย์แบบ CSR
3. คัดเลือกกองทุนที่ไม่ซิ่ง
4. ลงทุนระยะยาวแบบ DCA
5. ติดตามพอร์ต 6 เดือนครั้ง
***มือใหม่มักจะข้ามขั้นไปที่ข้อ 3 คือซื้อกองทุนโดยไม่จัดสัดส่วนพอร์ตก่อน***

ตัวอย่างพอร์ต TCS

พอร์ตกองทุนทั่วไป
TCS MillionBaht @Lottery Day
https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1540222813023099

พอร์ตกองทุน RMF
TCS RMF @Salary day
https://www.facebook.com/NyhanAndTheGang/posts/1550787575299956

===================

💁🏻‍♂️TCS ดูพอร์ต 6 เดือนครั้ง ดูอะไร?

ในการจัดพอร์ตแบบ Asset Allocation ในพอร์ตจะมีสินทรัพย์หลายอย่าง การประเมินพอร์ตเทียบกับ benchmark จึงยุ่งยาก

✅กองทุนตราสารหนี้ ก็ต้องไปดู benchmark ว่าตราสารหนี้ตอนนั้นผลตอบแทนเท่าไหร่
✅กองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก็ต้องไปดู benchmark ว่าอสังหาริมทรัพย์ตอนนั้นผลตอบแทนเท่าไหร่
✅กองทุนหุ้น ก็ต้องไปดู benchmark ว่าตอนนั้นดัชนีหุ้นผลตอบแทนเท่าไหร่
.
.
.
จากนั้นก็คำนวณตามน้ำหนักสัดส่วนในพอร์ตออกมาเป็น benchmark รวมของพอร์ตอีกที แล้วนำผลงานพอร์ตมาเทียบว่าชนะหรือแพ้ benchmark รวมในตอนนั้น

บอกตามตรงแอดมินทำไม่เป็นครับ ขี้เกียจทำด้วย😅😅😅 ขอประเมินพอร์ตแบบบ้านๆ เลยละกัน พอร์ตเรือธงของเราคือ TCS MillionBaht แอดมินดูผลงานพอร์ตเทียบกับกองทุนดัชนีหุ้นโลก ✅K-WORLDX ครับ

👉ถ้าผลงานรวมของพอร์ตแพ้ แปลว่าซื้อ ✅K-WORLDX กองเดียวจบเลย จะจัดพอร์ตให้เสียเวลาทำไม😂😂😂 หรือเชื่อมั่นในกองทุนที่เลือกก็อดทนถือต่อ หรือจะเปลี่ยนกองทุนในพอร์ตก็ว่ากันไป

👉ถ้าผลงานรวมของพอร์ตชนะ แปลว่าพอร์ตที่จัดไว้ใช้ได้

สรุปว่า อยากให้นักลงทุนทุกท่านเห็นความสำคัญของการดูพอร์ตทุก 6 เดือน ส่วนจะประเมินผลงานด้วยวิธีใดสุดแล้วแต่ท่าน #อย่าลืมประเมินพอร์ตนะ แต่อย่าขยันประเมินพอร์ตทุกวัน มันถี่ไปเน้อออ

การดูพอร์ตทุก 6 เดือนนอกจากได้ประเมินผลงานแล้วยังได้ติดตามสัดส่วนกองทุนในพอร์ตด้วยครับ เพราะการลงทุนระยะยาวกองทุนบางกองจะบวกหรือลบจนทำให้สัดส่วนเบี้ยวไปจากที่จัดไว้ แก้ได้ด้วยการปรับสมดุลพอร์ต(Portfolio rebalancing)

เกณฑ์ในการปรับสมดุลพอร์ตมี 2 เกณฑ์ได้แก่
1️⃣ ปรับตามเวลา(Periodic rebalancing) ปรับตามเวลาที่กำหนดไว้เช่น ปรับทุก 6 เดือน เป็นต้น
2️⃣ ปรับตามความเบี้ยว(Threshold rebalancing) ปรับตามความเบี้ยวที่กำหนดไว้เช่น ปรับเมื่อมีกองใดกองหนึ่งเบี้ยวไป 5% เป็นต้น

สำหรับ TCS มัดรวม 2 เกณฑ์ไว้ด้วยกันเลยคือจะประเมินพอร์ตทุก 6 เดือนถ้ามีกองใดกองหนึ่งเบี้ยวไป 5% จะปรับสมดุลพอร์ตครับ

วิธีการปรับสมดุลพอร์ตมี 2 วิธีได้แก่
1️⃣ ไม่ใช้เงินใหม่ คือจะขายกองทุนที่สัดส่วนเกินแล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อกองทุนที่สัดส่วนลดลง
2️⃣ ใช้เงินใหม่ คือใส่เงินใหม่เข้าไปในกองทุนที่สัดส่วนลดลงเพื่อให้สัดส่วนกลับมาตามเดิมนั่นเอง

โดย TCS วางแผนไว้ว่าจะใช้วิธีที่ 2 ในการปรับสมดุลพอร์ต

แอดมินยังเป็นมือใหม่ในการลงทุน
เรามาเรียนรู้การลงทุนของจริงไปด้วยกันครับ^^

#2DecadesInvestor #นักลงทุน2ทศวรรษ
=========================

***กองทุนรวม(mutual fund) ไม่ใช่การฝากเงินในธนาคาร ดังนั้นเงินต้นมีโอกาสลดลงได้***

“ผลตอบแทนในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต”

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน”

#ร่วมแบ่งปันสิ่งดีๆที่TCS
#สังคมไทยไร้เงินสด = New Normal

อ่านต่อบน Facebook

Tourmatoes มะเขือเทศทัวร์